ใจสั่งมา

ใจสั่งมา

บุคคลไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ฯลฯ

บุคคลไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณย่อมผ่องใส
บุคคลไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณย่อมผ่องใส

ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ ฯลฯ

ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ดี, บรรพชิตไม่สำรวม ก็ไม่ดี ฯลฯ

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ดี, บรรพชิตไม่สำรวม ก็ไม่ดี, พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ดี, บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ดี, บรรพชิตไม่สำรวม ก็ไม่ดี, พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ดี, บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี

พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และกล่าวคำสัตย์อย่างนี้ ฯลฯ

พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และกล่าวคำสัตย์อย่างนี้ ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และกล่าวคำสัตย์อย่างนี้ ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก (พุทฺธ) ขุ.ชา.มหา. 28/332.

กามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี ฯลฯ

กามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี ผู้ใดซ่องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
กามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี ผู้ใดซ่องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก

ภิกษุพึงสงบกิเลสและบาปธรรมที่เป็นภายในเสีย ฯลฯ

ภิกษุพึงสงบกิเลสและบาปธรรมที่เป็นภายในเสีย ไม่พึงแสวงหาความสงบจากที่อื่น เมื่อระงับภายในได้แล้ว สิ่งที่จะพึงยึดถือใหม่ย่อมไม่มี สิ่งที่ยึดถือไว้จำจะสละ จะมีแต่ไหน
ภิกษุพึงสงบกิเลสและบาปธรรมที่เป็นภายในเสีย ไม่พึงแสวงหาความสงบจากที่อื่น เมื่อระงับภายในได้แล้ว สิ่งที่จะพึงยึดถือใหม่ย่อมไม่มี สิ่งที่ยึดถือไว้จำจะสละ จะมีแต่ไหน

บุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก ฯลฯ

บุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก มีสติดำเนินอยู่อย่างนี้ วิญญาณย่อมดับ
บุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก มีสติดำเนินอยู่อย่างนี้ วิญญาณย่อมดับ (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/547, ขุ.จู. 30/218.

สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้ สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้ ฯลฯ

สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้ สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้ โภคะของสตรีหรือบุรุษ ที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอา ไม่มีเลย
สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้ สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้ โภคะของสตรีหรือบุรุษ ที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอา ไม่มีเลย (มหาชนกโพธิสตฺต) ขุ.ชา.มหา. 28/167.

ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อย มีทรัพย์มาก ฯลฯ

ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อย มีทรัพย์มาก เว้นหนทางที่มีภัย และเหมือนผู้รักชีวิต เว้นยาพิษเสีย ฉะนั้น
ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อย มีทรัพย์มาก เว้นหนทางที่มีภัย และเหมือนผู้รักชีวิต เว้นยาพิษเสีย ฉะนั้น

ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ฯลฯ

ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ ฉันนั้น
ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ ฉันนั้น

บาปกรรมที่ทำแล้วย่อมไม่เปลี่ยนแปลง ฯลฯ

บาปกรรมที่ทำแล้วย่อมไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น บาปกรรมย่อมตามเผาคนเขลา เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้
บาปกรรมที่ทำแล้วย่อมไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น บาปกรรมย่อมตามเผาคนเขลา เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้

ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ฯลฯ

ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน
ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน

สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ ฯลฯ

สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ บุญทั้งหลายที่ตนทำเอง บุญนั้นจะเป็นมิตรในสัมปรายภพ
สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ บุญทั้งหลายที่ตนทำเอง บุญนั้นจะเป็นมิตรในสัมปรายภพ

ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่า มีประมาณน้อย จักไม่มาถึง ฯลฯ

ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่า มีประมาณน้อย จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำ ย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตก ฉันใด ผู้มีปัญญา สั่งสมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น
ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่า มีประมาณน้อย จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำ ย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตก ฉันใด ผู้มีปัญญา สั่งสมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น

ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมบันเทิง ฯลฯ

ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมบันเทิง ชื่อว่าย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง เขาเห็นความบริสุทธิ์แห่งกรรมของตนแล้ว ย่อมบันเทิงปราโมทย์
ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมบันเทิง ชื่อว่าย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง เขาเห็นความบริสุทธิ์แห่งกรรมของตนแล้ว ย่อมบันเทิงปราโมทย์

ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมยินดีในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมยินดี ฯลฯ

ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมยินดีในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมยินดี ชื่อว่าย่อมยินดีในโลกทั้งสอง เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติ ย่อมยินดียิ่งขึ้น
ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมยินดีในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมยินดี ชื่อว่าย่อมยินดีในโลกทั้งสอง เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติ ย่อมยินดียิ่งขึ้น

เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง ฯลฯ

เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโต ว จนฺทิมา. "เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น." (องฺคุลิมาลเถร) ม.ม. 13/486.

คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ ฯลฯ

คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัว มัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ
ยญฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กยีรติ อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา. "คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัว มัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ." (พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/54.

หากกล่าวพุทธพจน์อันมีประโยชน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท ฯลฯ

หากกล่าวพุทธพจน์อันมีประโยชน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนเลี้ยงโค คอยนับโคให้อื่นอื่นฉะนั้น
พหุมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ น ภาควา สามญฺญสฺส โหติ. (พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/17.

บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างต่ำ ฯลฯ

บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างต่ำ ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง
บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างต่ำ ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง

โสรัจจะ และอวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง สติและสัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า

โสรัจจะ และอวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง สติและสัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า
โสรัจจะ และอวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง สติและสัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า (อุทายีเถร) ขุ.เถร. 26/368.

พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ฯลฯ

พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ
พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ (หาริตเถร) ขุ.เถร. 26/309.

ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ฯลฯ

ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ดารดาษไปด้วยดอกไม้คือวิมุตติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน
ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ดารดาษไปด้วยดอกไม้คือวิมุตติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน (เทวสภเถร) ขุ.เถร. 26/282.

สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์ แต่กล่าวธรรม ฯลฯ

สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์ แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว (บกพร่อง) เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน แม้ด้วยเหตุนี้ เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมติของตน ๆ ว่าเป็นจริง
สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์ แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว (บกพร่อง) เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน แม้ด้วยเหตุนี้ เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมติของตน ๆ ว่าเป็นจริง

ผู้ใดละธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรม ฯลฯ

ผู้ใดละธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรมที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพานอันปราศจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ผู้ใดละธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรมที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพานอันปราศจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า