ใจสั่งมา

ใจสั่งมา

ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ฯลฯ

ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ (พุทฺธ) ขุ.อิติ. 25/260.

กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น ฯลฯ

กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา
กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/530, ขุ.จู. 30/16,20.

สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะ มีอยู่ในผู้ใด ฯลฯ

สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะ มีอยู่ในผู้ใด อารยชน ย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก
สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะ มีอยู่ในผู้ใด อารยชน ย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก (อุปสาฬฺหาโพธิสตฺต) ขุ.ชา.ทุก. 27/58.

นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด นามและรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น ฯลฯ

นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด นามและรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น เพราะวิญญาณดับ
นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด นามและรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น เพราะวิญญาณดับ (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/531, ขุ.จู. 30/21.

บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ 8 ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย ฯลฯ

บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ 8 ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท 4 ประเสริฐสุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐสุด และบรรดาสัตว์ 2 เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐสุด
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ 8 ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท 4 ประเสริฐสุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐสุด และบรรดาสัตว์ 2 เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐสุด

พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะนั้นเป็นราก ฯลฯ

พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะนั้นเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น ควรเป็นผู้ทรงธรรม
พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะนั้นเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น ควรเป็นผู้ทรงธรรม

ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย ฯลฯ

ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียรละความเกิดความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน
ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียรละความเกิดความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน

เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ฯลฯ

เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ก็ไม่มีภพอีกต่อไป
เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ก็ไม่มีภพอีกต่อไป (พฺรหฺมทตฺตเถรี) ขุ.เถรี. 26/334.

เรา (ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา ฯลฯ

เรา (ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง
เรา (ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง (พุทฺธ) สํ.ส. 15/75.

สัตว์โลกมีความเพลินเป็นเครื่องผูกพัน มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป ฯลฯ

สัตว์โลกมีความเพลินเป็นเครื่องผูกพัน มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป ท่านเรียกว่า นิพพาน เพราะละตัณหาได้
สัตว์โลกมีความเพลินเป็นเครื่องผูกพัน มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป ท่านเรียกว่า นิพพาน เพราะละตัณหาได้ (พุทฺธ) ขุ.ส. 25/547, ขุ.จู. 30/216, 217.

มหาราช ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรมนอกลู่นอกทาง ฯลฯ

มหาราช ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรมนอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสวรรค์
มหาราช ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรมนอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสวรรค์

ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป ฯลฯ

ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีความเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคง ฯลฯ

ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีความเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ ย่อมถูกต้องพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีความเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ ย่อมถูกต้องพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ฯลฯ

ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้น ย่อมรู้กันได้
ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้น ย่อมรู้กันได้

ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ฯลฯ

ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง

พึงเป็นผู้พอใจ และประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ฯลฯ

พึงเป็นผู้พอใจ และประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน
พึงเป็นผู้พอใจ และประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน

พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ ฯลฯ

พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้แต่ชีวิต ทุกอย่าง
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้แต่ชีวิต ทุกอย่าง

ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ฯลฯ

ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ละกิเลสเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน
ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ละกิเลสเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน

กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม และแพศย์ (คนสามัญ) ไม่อาศัยธรรม ฯลฯ

กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม และแพศย์ (คนสามัญ) ไม่อาศัยธรรม ชนทั้ง 2 นั้น ละโลกไปแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ
กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม และแพศย์ (คนสามัญ) ไม่อาศัยธรรม ชนทั้ง 2 นั้น ละโลกไปแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ

ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา มีสติ ฯลฯ

ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว
ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว

บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี ฯลฯ

บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี
บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี

จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง ฯลฯ

จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว
จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว

พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ฯลฯ

พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไปเพราะสิ่งนั้น ๆ
พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไปเพราะสิ่งนั้น ๆ

ท่านผู้ดับไปแล้ว (คือปรินิพพานแล้ว) ไม่มีประมาณ ฯลฯ

ท่านผู้ดับไปแล้ว (คือปรินิพพานแล้ว) ไม่มีประมาณ จะพึงกล่าวถึงท่านด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี เมื่อธรรมทั้งปวง (มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง (ว่าผู้นั้นเป็นอะไร) ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด
ท่านผู้ดับไปแล้ว (คือปรินิพพานแล้ว) ไม่มีประมาณ จะพึงกล่าวถึงท่านด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี เมื่อธรรมทั้งปวง (มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง (ว่าผู้นั้นเป็นอะไร) ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด

ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะเห็นอรรถแจ่มแจ้งได้ด้วยปัญญา ฯลฯ

ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะเห็นอรรถแจ่มแจ้งได้ด้วยปัญญา ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมี เหมือนไฟดับ
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะเห็นอรรถแจ่มแจ้งได้ด้วยปัญญา ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมี เหมือนไฟดับ (พุทฺธ) องฺ.สตฺตก. 23/4.

ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์ ผู้นั้น พึงงดเว้นบาป ฯลฯ

ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์ ผู้นั้น พึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม 3 อย่าง
ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์ ผู้นั้น พึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม 3 อย่าง

ชนเหล่าใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ฯลฯ

ชนเหล่าใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้น จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก
ชนเหล่าใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้น จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก

ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี ผู้นั้นย่อมห่างจากพระสัทธรรม ฯลฯ

ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี ผู้นั้นย่อมห่างจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น
ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี ผู้นั้นย่อมห่างจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น (ภคุเถระ) ขุ.เถร. 26/311.

เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก ฯลฯ

เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้
ยทา จ พุทฺธา โลกสฺมึ อุปฺปชฺชนฺติ ปภงฺกรา เต อิมํ ธมฺมํ ปกาเสนฺติ ทุกฺขูปสมคามินํ. “เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้.”