
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.
[คำอ่าน : นิบ-พา-นัง, ปะ-ระ-มัง, สุ-ขัง]
“นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”
(ม.ม. ๑๓/๒๘๑, ขุ.ธ. ๒๕/๔๒)
นิพพาน แปลว่า ดับ คือดับกิเลสตัณหาทั้งหลายทั้งปวง ดับภพดับชาติ ดับกองทุกข์ทั้งปวง ดับจากภพทั้ง ๓ ดับการเวียนว่ายตายเกิด
ผู้ที่จะถึงนิพพานได้นั้น จะต้องดำเนินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน สามารถยังวิปัสสนาญาณทั้ง ๑๖ ขั้นให้เกิดขึ้นมาได้ สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่ระดับที่ ๑ ถึงระดับที่ ๔ ตามลำดับ
ผู้ที่ถึงพระนิพพานแล้ว เป็นผู้หมดกิเลสตัณหาอันเป็นตัวที่จะพาสรรพสัตว์มาเกิดอีกครั้งแล้วครั้งเล่า เมื่อสิ้นกิเลสตัณหาแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้เกิดอีกแล้ว เมื่อไม่ต้องเกิด ก็ไม่ต้องประสพกับความทุกข์อันใหญ่หลวงในห้วงมหรรณพภพสงสารอีกต่อไป
ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง คือเป็นความสุขที่เหนือความสุขทั้งปวง เป็นความสุขเหนือโลก เป็นความสุขที่ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีกแล้วนั่นเอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา