บัญญัติ 2 ประการ

บัญญัติ การกำหนดเรียก หรือ สิ่งที่ถูกกำหนดเรียก การกำหนดตั้งหรือตราไว้ให้เป็นที่รู้กัน เช่น การกำหนดเรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้รู้กัน การตั้งชื่อคนเพื่อให้รู้กัน เป็นต้น มี 2 ประการ คือ

1. ปัญญาปิยบัญญัติ

ปัญญาปิยบัญญัติ หรือ อรรถบัญญัติ คือ บัญญัติในแง่เป็นสิ่งอันพึงให้รู้กัน บัญญัติที่เป็นความหมาย บัญญัติคือความหมายอันพึงกำหนดเรียก หรือ ตัวความหมายที่จะพึงถูกตั้งชื่อเรียก

2. ปัญญาปนบัญญัติ

ปัญญาปนบัญญัติ หรือ นามบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ คือ บัญญัติในแง่เป็นเครื่องให้รู้กัน บัญญัติที่เป็นชื่อ บัญญัติที่เป็นศัพท์ หรือ ชื่อที่ตั้งขึ้นใช้เรียก แยกออกเป็น 6 อย่าง คือ

  1. วิชชมานบัญญัติ บัญญัติสิ่งที่มีอยู่ เช่น รูป เวทนา สมาธิ เป็นต้น
  2. อวิชชมานบัญญัติ บัญญัติสิ่งที่ไม่มีอยู่ เช่น ม้า แมว รถ นายแดง เป็นต้น
  3. วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ บัญญัติสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่มี เช่น คนดี นักฌาน ซึ่งความจริง มีแต่ดี คือภาวะที่เป็นกุศล และฌาน แต่คนไม่มี เป็นต้น
  4. อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ บัญญัติสิ่งที่มี ด้วยสิ่งที่ไม่มี เช่น เสียงหญิง ซึ่งความจริงหญิงไม่มี มีแต่เสียง เป็นต้น
  5. วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ บัญญัติสิ่งที่มีด้วยสิ่งที่มี เช่น จักขุสัมผัส โสตวิญญาณ เป็นต้น
  6. อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ บัญญัติสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่ไม่มี เช่น ราชโอรส ลูกเศรษฐี เป็นต้น