
อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ.
[คำอ่าน : อัด-ตา-นัน-เจ, ตะ-ถา, กะ-ยิ-รา, ยะ-ถัน-ยะ-มะ-นุ-สา-สะ-ติ]
“ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น”
(ขุ.ธ. 25/36)
การที่จะเป็นผู้สอนที่ดีได้นั้น จะต้องทำตัวเป็นทั้งผู้แนะและผู้นำ
ผู้แนะ คือผู้ที่คอยชี้ทางให้คนอื่น บอกให้เขารู้ว่า อะไรดี อะไรไม่ดี อะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ
ผู้นำ คือผู้ที่ทำตนเป็นตัวอย่างในแบบฉบับที่ดี ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของกฎหมายบ้านเมือง ไม่ทำตัวเกเรเหลวไหลไร้สาระ ทำตัวดีให้คนอื่นเห็นและทำตามได้อย่างไม่ต้องลังเล
เพราะถ้าเราสอนคนอื่นอย่างเดียว สอนตัวเองไม่ได้ หรือสอนคนอื่นอย่างหนึ่ง แต่กลับทำตัวอีกอย่างหนึ่ง ย่อมจะไม่เป็นที่เคารพนับถือ ไม่น่าเชื่อถือ และคนอื่นก็ไม่เชื่อสิ่งที่เราสอน โดยมาคิดว่า คนคนนี้ได้แต่สอนคนอื่น แต่ตัวเองกลับทำไม่ได้
ดังนั้น พุทธศาสนาจึงสอนให้เราทั้งหลายทำตัวอยู่ในศีลธรรม และแนะนำผู้อื่นให้อยู่ในศีลธรรมด้วยเช่นกัน คือทั้งประพฤติดีเองด้วย ทั้งแนะนำคนอื่นในทางที่ดีด้วย
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา