กิเลสวรรค หมวดกิเลส

พุทธศาสนสุภาษิตหมวดกิเลส หลักธรรมคำสอนที่กล่าวถึงกิเลส โทษของกิเลส และอานิสงส์ของการละกิเลส เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจกิเลสประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งโทษของมัน และวิธีที่จะกำจัดกิเลสเหล่านั้นออกจากจิตใจ

ท่านทั้งหลายจงตัดป่า (กิเลส) อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดจากป่า ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านจงตัดป่า และสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่า แล้วเป็นผู้ไม่มีป่าเถิด

ท่านทั้งหลายจงตัดป่า (กิเลส) อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดจากป่า ฯลฯ

วนํ ฉินฺทถ มา รุกฺขํ วนโต ชายตี ภยํ เฉตฺวา วนญฺจ วนถญฺจ นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโว. “ท่านทั้งหลายจงตัดป่า (กิเลส) อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดจากป่า ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านจงตัดป่า และสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่า แล้วเป็นผู้ไม่มีป่าเถิด.” (พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/52.
อ่านต่อท่านทั้งหลายจงตัดป่า (กิเลส) อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดจากป่า ฯลฯ
ผู้โลภ ย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภ ย่อมไม่เห็นธรรม ความโลภ เข้าครอบงำคนใด เมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น

ผู้โลภ ย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภ ย่อมไม่เห็นธรรม ฯลฯ

ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ ลุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โลโภ สหเต นรํ. “ผู้โลภ ย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภ ย่อมไม่เห็นธรรม ความโลภ เข้าครอบงำคนใด เมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น” (พุทฺธ) ขุ.อิติ. 25/295, ขุ.มหา. 29/17.
อ่านต่อผู้โลภ ย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภ ย่อมไม่เห็นธรรม ฯลฯ
ผู้ใดไม่รู้ ย่อมก่ออุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ เพราะฉะนั้น ผู้รู้เห็นแดนเกิดแห่งทุกข์ จึงไม่ควรก่ออุปธิ

ผู้ใดไม่รู้ ย่อมก่ออุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ ฯลฯ

โย เว อวิทฺวา อุปธึ กโรติ ปุนปฺปุนํ ทุกฺขมุเปติ มนฺโท ตสฺมา ปชานํ อุปธึ น กยิรา ทุกฺขสฺส ชาติปฺปภวานุปสฺสี. “ผู้ใดไม่รู้ ย่อมก่ออุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ เพราะฉะนั้น ผู้รู้เห็นแดนเกิดแห่งทุกข์ จึงไม่ควรก่ออุปธิ.” (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/534, ขุ.จู. 30/80,81.
อ่านต่อผู้ใดไม่รู้ ย่อมก่ออุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ ฯลฯ
ผู้ใดข้ามพ้นกามในโลก และเครื่องข้องที่ข้ามได้ยากในโลก ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก ชื่อว่าไม่เศร้าโศก ไม่ยินดี

ผู้ใดข้ามพ้นกามในโลก และเครื่องข้องที่ข้ามได้ยากในโลก ฯลฯ

โยธ กาเม อจฺจุตฺตริ สงฺคํ โลเก ทุรจฺจยํ น โส โสจติ นาชฺเฌติ ฉินฺนโสโต อพนฺธโน. “ผู้ใดข้ามพ้นกามในโลก และเครื่องข้องที่ข้ามได้ยากในโลก ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก ชื่อว่าไม่เศร้าโศก ไม่ยินดี.” (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/519, ขุ.มหา. 29/527.
อ่านต่อผู้ใดข้ามพ้นกามในโลก และเครื่องข้องที่ข้ามได้ยากในโลก ฯลฯ
ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้น เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี ดังนี้

ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้น เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา ฯลฯ

ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ ปเรสํ วาปิ กิญฺจนํ มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ นตฺถิ เมติ น โสจติ. “ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้น เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี ดังนี้.” (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/519, ขุ.มหา. 29/534.
อ่านต่อผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้น เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา ฯลฯ
ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น

ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใด ฯลฯ

มูฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ มูฬฺโห ธมฺมํ น ปสฺสติ อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โมโห สหเต นรํ. “ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น.” (พุทฺธ) ขุ.อิติ. 25/296, ขุ.มหา. 29/18.
อ่านต่อผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใด ฯลฯ
หมู่สัตว์นี้ประกอบด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัด ถูกมานะมัดไว้ ทำความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ย่อมล่วงสงสารไปไม่ได้

หมู่สัตว์นี้ประกอบด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัด ถูกมานะมัดไว้ ฯลฯ

มานุเปตา อยํ ปชา มานคนฺถา มานวินิพฺพทฺธา ทิฏฺฐีสุ พฺยารมฺภกตา สํสารํ นาติวตฺตติ. “หมู่สัตว์นี้ประกอบด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัด ถูกมานะมัดไว้ ทำความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ย่อมล่วงสงสารไปไม่ได้.” (พุทฺธ) ขุ.อุ. 25/193.
อ่านต่อหมู่สัตว์นี้ประกอบด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัด ถูกมานะมัดไว้ ฯลฯ
สัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว ถูกชราล้อมไว้ ถูกลูกศรคือตัณหาเสียบแล้ว ถูกอิจฉาคุกรุ่นแล้วทุกเมื่อ

สัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว ถูกชราล้อมไว้ ถูกลูกศรคือตัณหาเสียบแล้ว ฯลฯ

มจฺจุนาพฺภาหโต โลโก ชราย ปริวาริโต ตณฺหาสลฺเลน โอติณฺโณ อิจฺฉาธูปายิโต สทา. “สัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว ถูกชราล้อมไว้ ถูกลูกศรคือตัณหาเสียบแล้ว ถูกอิจฉาคุกรุ่นแล้วทุกเมื่อ.” (พุทฺธ) สํ.ส. 15/55.
อ่านต่อสัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว ถูกชราล้อมไว้ ถูกลูกศรคือตัณหาเสียบแล้ว ฯลฯ
ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา

ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ ฯลฯ

ปุราณํ นาภินนฺเทยฺย นเว ขนฺติมกุพฺพเย หิยฺยมาเน น โสเจยฺย อากาสํ น สิโต สิยา. “ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา.” (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/518.
อ่านต่อไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ ฯลฯ
ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย

ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ฯลฯ

นิราสตฺตี อนาคเต อตีตํ นานุโสจติ วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ ทิฏฺฐีสุ จ น นิยฺยติ. “ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย.” (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/500, ขุ.มหา. 29/264,267.
อ่านต่อผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ฯลฯ
คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความทะนงตัว

คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน ฯลฯ

นิทฺทํ ตนฺทึ สเห ถีนํ ปมาเทน น สํวเส อติมาเน น ติฏฺเฐยฺย นิพฺพานมนโส นโร. “คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความทะนงตัว.” (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/518.
อ่านต่อคนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน ฯลฯ
โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูก มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป เพราะละตัณหาเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกได้ทั้งหมด

โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูก มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป ฯลฯ

นนฺทิสมฺพนฺธโน โลโก วิตกฺกสฺส วิจารณํ ตณฺหาย วิปฺปหาเนน สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ. “โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูก มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป เพราะละตัณหาเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกได้ทั้งหมด.” (พุทฺธ) สํ.ส. 15/55.
อ่านต่อโลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูก มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป ฯลฯ
โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในทุกข์

โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในทุกข์

ตณฺหาย อุฑฺฑิโต โลโก ชราย ปริวาริโต มจฺจุนา ปิหิโต โลโก ทุกฺเข โลโก ปติฏฺฐิโต. “โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในทุกข์.” (พุทฺธ) สํ.ส. 15/55.
อ่านต่อโลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในทุกข์
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า

ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า

ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ สตฺโต สํสารมาปาทิ กมฺมํ ตสฺส ปรายนํ. “ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า.” (พุทฺธ) สํ.ส. 15/52.
อ่านต่อตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่

ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่

ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ สตฺโต สํสารมาปาทิ ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ. “ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่.” (พุทฺธ) สํ.ส. 15/51.
อ่านต่อตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์

ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์

ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ สตฺโต สํสารมาปาทิ ทุกฺขา น ปริมุจฺจติ. “ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์.” (พุทฺธ) สํ.ส. 15/51.
อ่านต่อตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) ทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีความกังวลนั้น

บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง ฯลฯ

โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ สญฺโญชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา. “บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) ทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีความกังวลนั้น.” (พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/44.
อ่านต่อบุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง ฯลฯ
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) เครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีความกังวลนั้น

บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง ฯลฯ

โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ สญฺโญชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย ตํ นามรูปสฺมิมสชฺชมานํ อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ สงฺคา. “บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) เครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีความกังวลนั้น.” (พุทฺธ) สํ.ส. 15/350.
อ่านต่อบุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง ฯลฯ