
ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ.
[คำอ่าน : พิย-โย, จะ, กา-เม, อะ-พิ-ปัด-ถะ-ยัน-ติ]
“ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป”
(ม.ม. ๑๓/๔๑๑, ขุ.เถร. ๒๖/๓๗๗)
คำว่า “ผู้บริโภคกาม” หมายถึง บุคคลผู้หมกมุ่นอยู่แต่ในกาม เพราะถูกกิเลสตัณหาครอบงำจนหน้ามืดตามัว ถูกอวิชชาครอบงำจนไม่สามารถแยกแยะออกได้ว่า สิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี จึงไม่เห็นทางสว่าง
ผู้บริโภคกาม ย่อมติดใจในรสของกาม เหมือนผู้ได้กินของอร่อยแล้วติดใจ อยากกินบ่อย ๆ ฉะนั้น บุคคลประเภทนี้ย่อมติดหนึบอยู่ในกาม ไม่สามารถดิ้นรนให้หลุดได้ โดยแท้ที่จริงแล้ว เขาย่อมไม่มีความคิดที่จะดิ้นรนให้หลุดออกมาเสียด้วยซ้ำ
เมื่อพิจารณาเห็นว่ากามเป็นสิ่งที่น่าใคร่น่าพอใจ เขาไม่เพียงแค่ติดอยู่ในกามเท่านั้น ยังปรารถนากามยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกด้วย นี่เป็นลักษณะของผู้บริโภคกาม
การที่จะหลุดพ้นจากวังวนของกามได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เกิดปัญญาพิจารณาเห็นโทษของกาม จึงจะสามารถหลุดออกจากวังวนนั้นได้
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา