กัมมวรรค หมวดกรรม

พุทธสาสนสุภาษิตหมวดกรรม หลักธรรมคำสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้ศึกษาเข้าใจกรรมประเภทต่าง ๆ รู้โทษของการประกอบกรรมชั่วและอานิสงส์ของการประกอบกรรมดี เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทำดีเว้นชั่วเกรงกลัวบาป

สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาชญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำตนให้เป็นอุปมาแล้ว ไม่ฆ่าเขาเอง ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า

สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาชญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำตน ฯลฯ

สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย. “สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาชญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำตนให้เป็นอุปมาแล้ว ไม่ฆ่าเขาเอง ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า.” (พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/32.
อ่านต่อสัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาชญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำตน ฯลฯ
ผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่ไม่สำนึกถึง (บุญคุณ) เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้

ผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่ไม่สำนึกถึง (บุญคุณ) ฯลฯ

โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ ปจฺฉา กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน กตฺตารํ นาธิคจฺฉติ. “ผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่ไม่สำนึกถึง (บุญคุณ) เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้.” (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.เอก. 27/29.
อ่านต่อผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่ไม่สำนึกถึง (บุญคุณ) ฯลฯ
ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้

ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจ ฯลฯ

ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ น ตมฺหิ ฉนฺทํ กริยาถ ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย. “ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้.” (พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/30.
อ่านต่อถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจ ฯลฯ
ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย จึงควรอยู่ในราชการ

ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย ฯลฯ

อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ สุสํวิหิตกมฺมนฺโต ส ราชวสตึ วเส. “ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย จึงควรอยู่ในราชการ.” (พุทฺธ) ขุ.ชา.มหา. 28/339.
อ่านต่อผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย ฯลฯ
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมต้องการความสุข ผู้ใด แสวงหาความสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมต้องการความสุข ผู้ใด แสวงหาความสุขเพื่อตน ฯลฯ

สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส ลภเต สุขํ. “สัตว์ทั้งหลาย ย่อมต้องการความสุข ผู้ใด แสวงหาความสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข.” (พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/32.
อ่านต่อสัตว์ทั้งหลาย ย่อมต้องการความสุข ผู้ใด แสวงหาความสุขเพื่อตน ฯลฯ
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมต้องการความสุข ผู้ใด แสวงหาความสุขเพื่อตน เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมต้องการความสุข ผู้ใด แสวงหาความสุขเพื่อตน ฯลฯ

สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ. “สัตว์ทั้งหลาย ย่อมต้องการความสุข ผู้ใด แสวงหาความสุขเพื่อตน เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข.” (พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/32.
อ่านต่อสัตว์ทั้งหลาย ย่อมต้องการความสุข ผู้ใด แสวงหาความสุขเพื่อตน ฯลฯ
ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น

ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ฯลฯ

สเจ ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ โปราณกํ กตํ ปาปํ ตเมโส มุญฺจเต อิณํ. “ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น.” (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.ปญฺญาส. 28/25.
อ่านต่อถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ฯลฯ
ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้น ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น

ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้น ย่อมเดือดร้อน ฯลฯ

โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ. “ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้น ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น.” (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.เอก. 27/23.
อ่านต่อผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้น ย่อมเดือดร้อน ฯลฯ
ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน ย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ

ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน ย่อมสำนึก ฯลฯ

โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ อตฺถา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา. “ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน ย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ.” (ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต) ขุ.ชา.สตฺตก. 27/228.
อ่านต่อผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน ย่อมสำนึก ฯลฯ
ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย

ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่รู้สึก ฯลฯ

โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ อตฺถา ตสฺส ปลุชฺชนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา. “ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย.” (ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต) ขุ.ชา.สตฺตก. 27/228.
อ่านต่อผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่รู้สึก ฯลฯ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว

บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ฯลฯ

ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ. “บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว.” (พุทฺธ) สํ.ส. 15/333.
อ่านต่อบุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ฯลฯ
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้

เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อน ฯลฯ

อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฺฌติ เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ. “เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้.” (พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/33.
อ่านต่อเมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อน ฯลฯ
ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่า หนาวนักร้อนนัก เย็นเสียแล้ว

ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ฯลฯ

อติสีตํ อติอุณฺหํ อติสายมิทํ อหุ อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว. “ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่า หนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว.” (พุทฺธ) ที.ปาฏิ. 11/199.
อ่านต่อประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ฯลฯ
นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ “ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ”
กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ “พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ”
กาลานุรูปํว ธุรํ นิยุญฺเช “พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว”