
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ.
[คำอ่าน : กัน-ละ-ยา-นะ-กา-รี, กัน-ละ-ยา-นัง, ปา-ปะ-กา-รี, จะ, ปา-ปะ-กัง]
“ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”
(สํ.ส. ๑๕/๓๓๓, ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๘๔)
กรรมที่เราได้ทำไว้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกรรมฝ่ายดีหรือกรรมฝ่ายชั่วก็ตาม เราจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอน แต่กรรมนั้นจะให้ผลเมื่อไหร่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า กรรมนั้นมีอานุภาพมากแค่ไหน
แต่ไม่ว่ากรรมจะให้ผลเมื่อไหร่ก็ตาม สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ กรรมจะให้ผลตามสภาพของมัน คือ ถ้าเป็นกรรมดี ก็จะให้ผลในทางที่ดี สร้างความสุขความเจริญให้กับผู้กระทำหรือเจ้าของกรรม แต่ถ้าเป็นกรรมฝ่ายชั่ว ก็จะให้ผลไปในทางที่ชั่ว คือสร้างความฉิบหายให้ผู้กระทำ
อันนี้มันเป็นหลักธรรมดาสามัญ เปรียบเสมือนกับการที่เรามีก้อนหินที่มีผิวขรุขระแหลมคมอยู่ในมือ ถ้าเราแบมือไว้ เราก็จะไม่เจ็บมือ แต่ถ้าเรากำมือ เราจะเริ่มเจ็บมือเพราะหินก้อนนั้น ยิ่งกำแรงเท่าไหร่ก็ยิ่งเจ็บมากเท่านั้น
ดังนั้น จงสร้างแต่กรรมดีเถิด อย่าสร้างกรรมชั่วอันจะนำผลเสียมาสู่ตนเองในภายหลังเลย ผู้ฉลาดย่อมทำความดีอันจะเป็นเหตุให้เกิดผลที่ดีต่อตนเอง ส่วนผู้โง่เขลาเบาปัญญา ย่อมทำกรรมชั่ว อันจะเป็นเหตุให้เกิดผลชั่วแก่ตนในภายหลัง เราจะเป็นคนฉลาดหรือจะเป็นคนโง่ เราย่อมสามารถเลือกได้ด้วยตนเอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา