
มา จ สาวชฺชมาคมา.
[คำอ่าน : มา, จะ, สา-วัด-ชะ-มา-คะ-มา]
“อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย”
(ส.ฉ.)
กรรมที่มีโทษ ได้แก่ ทุจริต 3 ประการ คือ
- กายทุจริต การประพฤติชั่วทางกาย
- วจีทุจริต การประพฤติชั่วทางวาจา
- มโนทุจริต การประพฤติชั่วทางใจ
ทุจริตทั้ง 3 อย่างนี้ เป็นกรรมที่ก่อทุกข์ก่อโทษให้ทั้งแก่ผู้ทำเอง และสังคมโดยส่วนรวม จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ควรหลีกเสียให้ห่างไกล หรือพึงกำจัดเสียให้หมดสิ้นไป อย่าให้มีความคิดที่จะทำความชั่วเหล่านี้หลงเหลืออยู่ในจิตในใจ
พุทธศาสนาสอนให้พุทธศาสนิกชนละเว้นทุจริตทั้ง ๓ ประการนี้ โดยให้ทำกรรมที่ไม่มีโทษอันได้แก่สุจริต 3 ประการ คือ
- กายสุจริต การประพฤติดีทางกาย
- วจีสุจริต การประพฤติดีทางวาจา
- มโนสุจริต การประพฤติดีทางใจ
สุจริตทั้ง 3 ประการนี้ เป็นสิ่งที่เราทั้งหลายควรทำให้มาก ๆ ควรบำเพ็ญให้มากและบำเพ็ญตลอดเวลา เพราะจะเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยผลอันเป็นความสุขความเจริญให้แก่ตัวเราเองและคนรอบข้าง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา