
รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา.
[คำอ่าน : รัก-ไข-ยะ, อัด-ตะ-โน, สา-ทุง, ละ-วะ-นัง, โล-นะ-ตัง, ยะ-ถา]
“พึงรักษาความดีของตนไว้ เหมือนเกลือรักษาความเค็ม”
(ส.ส.)
การทำความดี ก็เหมือนการพายเรือทวนกระแสน้ำ ย่อมทำได้ด้วยความยากลำบาก ส่วนการทำความชั่ว เปรียบเหมือนการพายเรือตามกระแสน้ำ ย่อมสามารถทำได้โดยง่าย เพราะไม่ต้องใช้ความพยายามนัก แค่ปล่อยให้กระแสน้ำพัดไปก็ได้แล้ว
คนเราเมื่อทำความดีมาพอสมควร แต่หากถึงช่วงเวลาหนึ่งเผลอไปทำความชั่วเข้า ย่อมกลายเป็นคนชั่วไปในทันที ความดีที่เคยทำมาจะถูกมองข้าม เพราะคนจะมองเฉพาะการทำชั่วครั้งนั้นแล้วก่นด่าเขาสารพัด
ดังนั้น จึงเป็นการสำคัญยิ่งที่คนเราควรจะรักษาความดีไว้ให้คงที่ ไม่ให้ลดน้อยถอยลง และพยายามทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ถึงแม้จะดีกว่าเดิมไม่ได้ ก็ไม่ควรให้ความดีลดลง ให้ทำตัวให้เหมือนเกลือ ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ยังมีรสเค็มเหมือนเดิม
มนุษย์เราก็เช่นกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด ก็อย่าให้ความดีต้องเสื่อมสูญเลย พึงรักษาความดีของตนเท่าที่มีอยู่อย่าให้ลดน้อยถอยลง นอกจากนั้นก็หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากขึ้น ด้วยการหมั่นสร้างคุณงามความดี หมั่นป้องกันความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น และหมั่นกำจัดความชั่วที่มีอยู่ในจิตใจตนให้หมดไป จึงจะได้ประโยชน์จากการมีชีวิตอยู่
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา