ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ “ทำกรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแล เป็นดี”

ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ "ทำกรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแล เป็นดี"

ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.

[คำอ่าน : ตัน-จะ, กำ-มัง, กะ-ตัง, สา-ทุ, ยัง, กัด-ตะ-วา, นา-นุ-ตับ-ปะ-ติ]

“ทำกรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแล เป็นดี”

(สํ.ส. ๑๕/๘๑, ขุ.ธ. ๒๕/๒๓)

ธรรมดากรรมดีย่อมมีผลไปในทิศทางที่ดี คืออำนวยความสุขความเจริญให้แก่ผู้ที่ทำ และไม่สร้างความเดือดร้อนให้ ไม่ตามแผดเผาในภายหลัง

กรรมดีก็คือกรรมฝ่ายสุจริต ทั้ง ๓ ประการ คือ กายสุจริต วจีสุจริต และ มโนสุจริต

หรือการปฏิบัติตามโอวาทปาฏิโมกข์ทั้ง ๓ ข้อ คือ

  1. การไม่ทำบาปทั้งปวง
  2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม
  3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว

เมื่อบุคคลประพฤติตนอยู่ในหลักของความดีดังที่ได้กล่าวมา ย่อมจะได้รับผลที่ดีตอบแทนเป็นความสุขความเจริญ ไม่มีความเดือดเนื้อร้อนใจใด ๆ รุกราน

เมื่อรู้ดังนี้แล้ว เราท่านทั้งหลาย พึงหมั่นสร้างคุณงามความดีเอาไว้ให้มาก ๆ เพราะทุกคนต่างต้องการความสุขความเจริญแก่ตนเอง ยิ่งมากยิ่งดี และความดีนี่แหละ สุจริตทั้ง ๓ ประการนี่แหละ ที่จะอำนวยผลดีอันเป็นความสุขความเจริญให้เราได้

กรรมนั้นมีความยุติธรรมเสมอ คือ ทำน้อยก็ได้น้อย ทำมากก็ได้มาก ดังนั้น เมื่อทำความดีเอาไว้มาก ย่อมจะได้รับผลดีเป็นอันมากเช่นกัน


สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต


ดูอักษรย่อบอกนามคัมภีร์ได้ที่นี่