
สุกรํ สาธุนา สาธุ.
[คำอ่าน : สุ-กะ-รัง, สา-ทุ-นา, สา-ทุ]
“ความดี อันคนดีทำง่าย”
(วิ.จุล. ๗/๑๙๕, ขุ.อุ. ๒๕/๑๖๗)
ความดี คือการกระทำที่ทำไปแล้วไม่ก่อโทษ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น มีแต่ประโยชน์ คือเป็นทั้งประโยชน์แก่ตนเอง ประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นไปเพื่อประโยชน์ในโลกนี้ด้วย เพื่อประโยชน์ในโลกหน้าด้วย นี่ชื่อว่าความดี
โดยธรรมดาบุคคลที่เป็นคนดี คือผู้ที่ทำความดีอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ย่อมสามารถที่จะทำความดีได้โดยง่าย เพราะเขาทำความดีอยู่ประจำ ทำจนชิน ทำจนเป็นนิสัย จิตใจย่อมจะยินดีในการสร้างความดีอยู่ตลอด
ส่วนผู้ที่ทำความชั่วมามาก หรือทำความชั่วอยู่เป็นประจำ หากจะให้เขาทำความดีนั้นย่อมเป็นเรื่องยาก เพราะขัดกับธรรมชาติของเขา ย่อมต้องใช้เวลาเป็นอันมากในการที่เขาจะต้องปรับตัว
ดังนั้น พึงหมั่นสร้างคุณงามความดีเสียให้ชิน ทำให้เป็นกิจกรรมประจำวัน แล้วเราจะซึมซับความดีนั้นโดยอัตโนมัติ สภาพจิตใจของเราจะโอนไปในฝ่ายกุศลโดยอัตโนมัติ การทำความดีจะกลายเป็นเรื่องปกติของชีวิตเรา และจะมองเห็นความชั่วว่า เป็นสิ่งที่ทำได้ยากขึ้นทุกขณะ จนไม่อยากจะทำความชั่วอีกเลย
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา