
ยา กาจิมา ทุคฺคติโย……อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
อวิชฺชามูลกา สพฺพา…..อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา.
[คำอ่าน]
ยา, กา-จิ-มา, ทุก-คะ-ติ-โย…..อัด-สะ-หมิง, โล-เก, ปะ-รำ-หิ, จะ
อะ-วิด-ชา-มู-ละ-กา, สับ-พา………อิด-ฉา-โล-พะ-สะ-มุด-สะ-ยา
[คำแปล]
“ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภะเป็นลำต้น.”
(พุทฺธ) ขุ.อิติ. 25/256.
ทุคติ แปลว่า ทางไปที่ไม่ดี ทางไปชั่ว หมายถึง ภพภูมิที่ไม่ดี เช่น นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน และภาวะที่เป็นทุกข์ต่าง ๆ ที่ต้องประสบอันเนื่องมาจากวิบากของกรรมชั่วที่เคยกระทำไว้
สาเหตุที่ทำให้สรรพสัตว์ต้องไปเกิดในทุคติหรือต้องประสบกับภาวะที่เป็นทุกข์ต่าง ๆ นานานั้น มีสาเหตุหลักมาจากอวิชชา ซึ่งแปลว่า ความไม่รู้ หมายเอาความไม่รู้ในอริยสัจ ไม่รู้บาปบุญคุณโทษ ไม่รู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน
ผู้ที่ถูกอวิชชาครอบงำ ย่อมจะมีปัญญามืดบอด ไม่สามารถคิดอ่านการใด ๆ ให้กระจ่างได้ ไม่เข้าใจความเป็นจริงของสรรพสิ่ง ไม่เข้าใจกฎแห่งกรรม
เมื่อสัตว์ทั้งหลายถูกอวิชชาครอบงำอยู่อย่างนี้ ย่อมทำการทุกอย่างตามความปรารถนาและความอยากของตน ถึงแม้ว่าความปรารถนาและความอยากนั้นจะชักนำให้ทำสิ่งที่เป็นกรรมชั่วช้าลามกก็ตาม
คนที่ทำกรรมชั่วช้าลามกต่าง ๆ นานา เช่น ทำร้ายผู้อื่น ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทำผิดประเวณี ปล้น ชิง วิ่งราว เป็นต้น ก็เพราะอวิชชานี่เองเป็นสาเหตุหลัก เพราะตัวอวิชชา เป็นมูลรากก่อให้เกิด โลภะ โทสะ โมหะ ขึ้นมาชักจูงจิตใจสรรพสัตว์ทั้งหลายให้กระทำกรรมชั่วช้าลามกตามอำนาจของมันนั่นเอง
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราท่านทั้งหลายจะต้องเร่งเจริญปัญญาด้วยการหมั่นเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อทำลายตัวอวิชชาอันเป็นรากเหง้าแห่งการเวียนว่ายตายเกิด และเป็นรากเหง้าแห่งความชั่วทั้งปวงนี้
เมื่อใดที่ทำลายอวิชชาได้หมดสิ้นแล้ว ก็เป็นอันทำลายรากเหง้าแห่งการเวียนว่ายตายเกิด รากเหง้าแห่งอกุศลก็หมดสิ้น รากเหง้าแห่งทุคติก็ไม่เหลือ เป็นอันกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ถึงฝั่งคือพระนิพพาน.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา