
ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ….ปารคู โหติ พฺราหฺมโณ
อถสฺส สพฺเพ สํโยคา….อตฺถํ คจฺฉนฺติ ชานโต.
[คำอ่าน]
ยะ-ทา, ทะ-วะ-เย-สุ, ทำ-เม-สุ….ปา-ระ-คู, โห-ติ, พราม-มะ-โน
อะ-ถัด-สะ, สับ-เพ, สัง-โย-คา….อัด-ถัง, คัด-ฉัน-ติ, ชา-นะ-โต
[คำแปล]
“เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรม 2 อย่าง เมื่อนั้น กิเลสเครื่องตรึงทั้งปวงของพราหมณ์ผู้รู้นั้น ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.”
(พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/67.
คำว่า กิเลสเครื่องตรึง ได้แก่ สังโยชน์ ซึ่งเป็นกิเลสที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับวัฏฏทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล มี 10 ประการ แบ่งเป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ เรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ และสังโยชน์เบื้องสูง 5 ประการ เรียกว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ หรือสังโยชน์เบื้องต่ำ ประกอบด้วย
สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ ว่าเป็นตัวตน เป็นต้น
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ความไม่แน่ใจ เช่น ความลังเลสงสัยในธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นต้น
สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรตโดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงายด้วยหวังว่าจะสามารถบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลพรตนั้น ๆ
กามราคะ ความติดใจหลงใหลในกามคุณ
ปฏิฆะ ความขุ่นเคืองขัดข้องหงุดหงิดรำคาญใจเมื่อประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ หรือสังโยชน์เบื้องสูง ประกอบด้วย
รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปอันประณีต รวมถึงความปรารถนาในรูปภพ
อรูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม รวมถึงความปรารถนาในอรูปภพ
มานะ ความสำคัญตน ความถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่
อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
อวิชชา ความไม่รู้จริง ความไม่รู้ในอริยสัจ
สังโยชน์ทั้ง 10 ประการนี้ เป็นกิเลสที่ทำให้สัตว์โลกทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ ทำให้สังสารวัฏยืดยาว ไม่สามารถพ้นไปได้โดยเร็ว
มีเพียงผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ประกอบความเพียรเพื่อเผากิเลสอยู่เนือง ๆ เท่านั้น จึงจะสามารถทำลายสังโยชน์ทั้ง 10 ประการนี้ลงได้ และกลายเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งสองคือ สังขตธรรมและอสังขตธรรม เข้าถึงพระนิพพานอันเป็นจุดสิ้นสุดแห่งสังสารวัฏได้.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา