
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
[คำอ่าน : ตะ-ถัด-ตา-นัง, นิ-เว-ไส-ยะ, ยะ-ถา, พู-ริ, ปะ-วัด-ทะ-ติ]
“ปัญญาย่อมเจริญด้วยประการใด พึงตั้งตนไว้ด้วยประการนั้น”
(ขุ.ธ. ๒๕/๕๒)
ปัญญา เกิดขึ้นจาก ๓ ทาง ดังนี้
- สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง
- จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิด
- ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการเจริญจิตภาวนา
การที่เราจะมีปัญญาได้นั้น ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีให้ได้เสียก่อน คือการศึกษาเล่าเรียน การสอบถามจากผู้อื่นที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ แล้วก็ตั้งใจฟังจากเขา
เมื่อได้ฟังมาแล้วก็หมั่นพินิจพิจารณาตาม ว่าสิ่งที่ได้ฟังมานั้นถูกต้องหรือไม่ มีเหตุมีผลหรือไม่ สมควรเชื่อได้หรือไม่ การคิดพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ ได้เห็น หรือได้ฟังมา จะทำให้เกิดปัญญาเข้าใจถ่องแท้ตามความเป็นจริง
สองข้อดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นปัญญาที่จะเกิดจากผู้อื่น แต่มีอีกประการหนึ่งที่เป็นปัญญาที่จะเกิดจากตนเอง นั่นคือ ภาวนามยปัญญา คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ปัญญาที่เกิดจากการภาวนานี้ จะเป็นปัญญาเหนือโลก เป็นปัญญาที่สามารถกำจัดกิเลสได้ เป็นปัญญาที่จะนำเราไปสู่มรรคผลนิพพานได้
เมื่อรู้ดังนี้แล้ว เราควรฝึกตนให้อยู่ในเหตุเกิดแห่งปัญญาทั้งสามข้อดังกล่าวเถิด จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้ง ๓ ประการ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา