
ปญฺญํ นปฺปมชฺเชยฺย.
[คำอ่าน : ปัน-ยัง, นับ-ปะ-มัด-ไช-ยะ]
“ไม่ควรประมาทปัญญาเลย”
(ม.อุป. ๑๔/๔๓๖)
ปัญญา คือ ความรอบรู้ในสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริง รู้ทางเสื่อมและทางเจริญ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ ทำให้บุคคลสามารถละชั่วทำดีได้
ปัญญา ท่านจัดว่าเป็นสิ่งล้ำค่าของมนุษย์ทั้งหลาย เพราะมีปัญญา บุคคลทั้งหลายจึงหาทรัพย์สมบัติมาจับจ่ายใช้สอยได้ เพราะปัญญา บุคคลทั้งหลายจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
เพราะปัญญา บุคคลทั้งหลายจึงสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพราะปัญญา บุคคลทั้งหลายจึงสามารถแสวงหาทางพ้นทุกข์ถึงสุขคือพระนิพพานได้
เพราะฉะนั้น ปัญญา จึงเป็นสิ่งที่เราทั้งหลายไม่ควรประมาท ตราบยังมีลมหายใจ ยังมีกำลังพอที่จะอบรมบ่มปัญญาได้ พึงรีบเร่งอบรมบ่มปัญญา ผู้ที่ยังอยู่ในวัยที่ต้องศึกษาหาความรู้ พึงใช้ความเพียรศึกษาหาความรู้ เพื่อพอกพูนปัญญาให้มาก ๆ เพื่อให้มีปัญญาในการดำรงชีวิต
นอกจากนั้น พึงเพียรพยายามปฏิบัติวิปัสสากรรมฐาน เพื่อให้เกิดวิปัสสนาปัญญา อันจะเป็นเครื่องกำจัดกิเลสเสียให้หมดไปจากขันธสันดานแห่งตน เพื่อความพ้นทุกข์ ถึงสุขที่แท้จริงคือพระนิพพาน
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา