
ปมาโท มจฺจุโน ปทํ.
[คำอ่าน : ปะ-มา-โท, มัด-จุ-โน, ปะ-ทัง]
“ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย”
(ขุ.ธ. ๒๕/๑๘, ขุ.ชา.ตึส. ๒๗/๕๒๔)
ความประมาท คือ ความลุ่มหลงมัวเมา ความไม่รู้บาปบุญคุณโทษ ไม่รู้ประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ถูกรู้ผิด ลุ่มหลงมัวเมาในกิเลสตัณหา ถูกกิเลสตัณหาครอบงำอยู่ตลอดเวลา หรือการปล่อยเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยไม่สร้างคุณงามความดี ไม่สร้างบารมีให้แก่ตนเองเลย อย่างนี้เรียกว่า ประมาท
คนที่ประมาท ถึงมีชีวิตอยู่ก็เหมือนตายไปแล้ว คือตายจากคุณงามความดี ตายจากโอกาสที่จะได้นำตนเข้าสู่ทางพ้นทุกข์คือพระนิพพาน เพราะผู้ที่ประมาท จะไม่ยินดีในการสร้างคุณงามความดีเลย
คำว่า ตาย คือ การไปสู่ภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง ดังนั้น ความประมาท จึงเป็นเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในภพทั้ง ๓ ดังกล่าว พุทธศาสนาจึงสอนว่า “ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย”
เมื่อความประมาทเป็นสาเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิดเช่นนี้ เราทั้งหลาย พึงพยายามละความประมาทเสียให้ได้ แล้วหันมาบำเพ็ญอัปปมาทธรรมคือความไม่ประมาท อันจะเป็นทางไปสู่อมตธรรมคือความไม่ตาย คือการไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป นั่นก็คือ การนำตนเข้าถึงพระนิพพานอันเป็นเหตุดับทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา