
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ.
[คำอ่าน : อับ-ปะ-มา-ทัน-จะ, เม-ทา-วี, ทะ-นัง, เสด-ถัง-วะ, รัก-ขะ-ติ]
“ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด”
(ม.ม. 13/488, สํ.ส. 15/36, ขุ.ธ. 25/18, ขุ.เถร. 26/390)
คำว่า “ปราชญ์” หมายถึง บุคคลที่มีปัญญาชาญฉลาด รอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ว่า ความประมาทนั้นสร้างความหายนะให้เราได้เป็นอันมาก ส่วนความไม่ประมาทนั้นสร้างประโยชน์ให้เราได้เป็นอันมาก
ดังนั้น ผู้ฉลาดจึงรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันประเสริฐที่สุดที่ตนเองมีอยู่ คือพยายามใช้ชีวิต คิด พูด ทำ ด้วยความไม่ประมาทเลินเล่อ ไม่ประมาทในธรรม ไม่ประมาทในชีวิต ไม่ประมาทในการประกอบกิจทุกประการ
ผู้ไม่ประมาท ย่อมจะไม่พลาดโอกาสดี ๆ ในชีวิต เช่น ไม่ประมาทในการแสวงหาความรู้ ไม่ประมาทในการศึกษาธรรมะ ไม่ประมาทในการสร้างคุณงามความดี ไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม คือเมื่อมีโอกาสดี ๆ เข้ามาในชีวิต ก็ไม่ปล่อยให้โอกาสนั้นหลุดลอยไป อย่างนี้เรียกว่าไม่ประมาท
ผู้ไม่ประมาทเช่นนี้ ย่อมจะสามารถคว้าโอกาสดี ๆ ทั้งหลายเอาไว้ได้ และย่อมได้เปรียบคนอื่นในหลาย ๆ ด้าน ไม่ใช่เพราะชอบเอาเปรียบหรือเพราะชอบฉวยโอกาส แต่เป็นเพราะ ไม่ประมาท นั่นเอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา