
ปมาโท รกฺขโต มลํ.
[คำอ่าน : ปะ-มา-โท, รัก-ขะ-โต, มะ-ลัง]
“ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา”
(องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘, ขุ.ธ. ๒๕/๔๗)
ความประมาท ในที่นี้ หมายถึง ความเลินเล่อ เผลอ ขาดสติ จิตใจไม่เป็นสมาธิ เป็นเหตุให้เสียการเสียงาน การทำงานไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
สำหรับบุคคลทั้งหลายที่มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับการรักษาคุ้มครอง เช่น รักษาความปลอดภัย รักษาทรัพย์สิน เป็นต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำจัดความประมาทใหสิ้นไป ต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ มีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานที่ทำ
เมื่อใดก็ตามที่เขาประมาท อาจทำให้เกิดผลเสียต่องานของเขา และเขาจะต้องถูกตำหนิ และเสียงานไปในที่สุด เพราะฉะนั้น ความประมาทนั้นไม่ดีเลย เราต้องหมั่นฝึกสติอยู่เสมอ เพราะสตินั้นจะเป็นตัวสกัดกั้นความประมาทเสียได้
อีกนัยหนึ่ง หากพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปในแง่ของการปฏิบัติธรรมเพื่อกำจัดทุกข์ คำว่า ผู้รักษา หมายถึง ผู้รักษาพรหมจรรย์ คือผู้รักษาข้อวัตรปฏิบัติเพื่อความบริสุทธิ์แห่งพรหมจรรย์ หรือผู้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อเข้าถึงความพ้นทุกข์ หากประมาทเสียอย่างเดียว ก็จะเป็นเหตุให้การประพฤติพรหมจรรย์นั้นไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ ผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ก็จะไม่เกิด
ดังนั้น ความประมาท จึงเป็นมลทินของผู้รักษา โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา