
ปมาโท ครหิโต สทา.
[คำอ่าน : ปะ-มา-โท, คะ-ระ-หิ-โต, สะ-ทา]
“ความประมาท บัณฑิตติเตียนทุกเมื่อ”
(ขุ.ธ. ๒๕/๑๙)
บัณฑิต คือ ผู้มีปัญญา รอบรู้วิชาการทั้งหลาย อีกทั้งรู้ทางเสื่อมและทางเจริญ เป็นผู้มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบ ตั้งตนอยู่ในศีลธรรมอันดีเสมอ
ความประมาท คือ ความเลินเล่อต่อหน้าที่การงาน เลินเล่อต่อการดำรงชีวิต ทำให้ขาดสติ ไม่มีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ ทำให้งานที่ทำนั้นประสบความล้มเหลว หรือไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
อีกอย่างหนึ่ง ความประมาท หมายถึง ความหลงมัวเมา เช่น ความมัวเมาในลาภ ความมัวเมาในยศ ความมัวเมาในสรรเสริญ ความมัวเมาในความสุข เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดา หาสาระแก่นสารมิได้
ธรรมดาบัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท และติเตียนความประมาท เพราะมาพิจารณาเห็นคุณของความไม่ประมาท และเห็นโทษของความประมาท จึงดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท
เมื่อใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท หรือดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาทเช่นนี้ บัณฑิตชนนั้น ย่อมประสบประโยชน์สุขอันเกิดจากความไม่ประมาททุกเมื่อ
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา