
อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ.
[คำอ่าน : อิด-ฉา, นะ-รัง, ปะ-ริ-กัด-สะ-ติ]
“ความอยาก ย่อมเสือกไส ซึ่งนรชน”
(สํ.ส. ๑๕/๖๑)
ความอยาก หมายถึง ความอยากได้ในทางที่มิชอบ คืออยากได้ในทางผิดทำนองคลองธรรม และแสวงหาในทางที่ผิดศีลผิดธรรม ผิดกฏหมายบ้านเมือง อันเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อน ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
ความอยากนี้ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมัน เราก็จะเป็นเหมือนหุ่นที่ถูกความอยากเชิดให้ทำสิ่งต่าง ๆ ตามที่มันต้องการ ทำให้เราทำผิดทำนองคลองธรรมตามอำนาจของมัน คนทั้งหลายที่ทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นความผิดต่อศีลธรรม หรือความผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง ก็มีเหตุมาจากความอยากนี่เอง
และเมื่อผิดพลาดขึ้นมา ผู้ที่จะได้รับผลไม่ใช่ความอยาก แต่เป็นตัวเราผู้ที่ทำตามอำนาจของความอยากนั่นเอง เราทำความผิดเพราะอำนาจของความอยาก เราก็ต้องรับโทษของความผิดที่กระทำนั้น หนักบ้างเบาบ้าง ตามระดับความผิดที่กระทำลงไป
ดังนั้น เราต้องรู้เท่าทันความอยาก ถ้าอยากในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ก็ต้องยับยั้งชั่งใจ ไม่ทำตามอำนาจของมัน เมื่อเรายับยั้งชั่งใจเสียได้ ก็ไม่ต้องตกอยู่ในอำนาจของความอยาก และไม่ต้องรับผลเสียที่จะเกิดขึ้น
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา