กิเลสวรรค หมวดกิเลส

พุทธศาสนสุภาษิตหมวดกิเลส หลักธรรมคำสอนที่กล่าวถึงกิเลส โทษของกิเลส และอานิสงส์ของการละกิเลส เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจกิเลสประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งโทษของมัน และวิธีที่จะกำจัดกิเลสเหล่านั้นออกจากจิตใจ

กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆ กัน บุคคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้วเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด

กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆ กัน ฯลฯ

กามา หิ จิตฺรา มธุรา มโนรมา วิรูปรูเปน มเถนฺติ จิตฺตํ อาทีนวํ กามคุเณสุ ทิสฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป. “กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆ กัน บุคคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้วเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด.” (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/334.
อ่านต่อกามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆ กัน ฯลฯ
ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น มีสติอยู่ทุกอิริยาบถเถิด

ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ ฯลฯ

เอวมาทีนวํ ญตฺวา ตณฺหา ทุกฺขสฺส สมฺภวํ วีตตณฺโห อนาทาโน สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช. “ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น มีสติอยู่ทุกอิริยาบถเถิด.” (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/478, ขุ.จู. 30/320.
อ่านต่อภิกษุรู้โทษอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ ฯลฯ
ภิกษุผู้ถอนภวตัณหาได้แล้ว มีจิตสงบแล้ว สิ้นความเวียนเกิดแล้ว ย่อมไม่มีภพอีก

ภิกษุผู้ถอนภวตัณหาได้แล้ว มีจิตสงบแล้ว ฯลฯ

อุจฺฉินฺนภวตณฺหสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน วิกฺขีโณ ชาติสํสาโร นตฺถิ ตสฺส ปุนพฺภโว. “ภิกษุผู้ถอนภวตัณหาได้แล้ว มีจิตสงบแล้ว สิ้นความเวียนเกิดแล้ว ย่อมไม่มีภพอีก.” (พุทฺธ) ขุ.อุ. 25/143.
อ่านต่อภิกษุผู้ถอนภวตัณหาได้แล้ว มีจิตสงบแล้ว ฯลฯ
ผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขาในโลก ผู้นั้นชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น

ผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ว่าดีกว่าเขา ฯลฯ

อุเปกฺขโก สทา สโต น โลเก มญฺญตี สมํ น วิเสสี น นีเจยฺโย ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา. “ผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขาในโลก ผู้นั้นชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น.” (พุทฺธ) ขุ.มหา. 29/289, ขุ.สุ. 25/501.
อ่านต่อผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ว่าดีกว่าเขา ฯลฯ
ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ฉะนั้น

ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก ฯลฯ

อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา อิจฺฉาพทฺธา ปุถู สตฺตา ปาเสน สกุณี ยถา. “ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ฉะนั้น.” (พุทฺธ) สํ.ส. 15/61.
อ่านต่อความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก ฯลฯ
โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก, เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้

โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก ฯลฯ

อิจฺฉาย พชฺฌตี โลโก อิจฺฉาวินยาย มุจฺจติ อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ. “โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก, เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้.” (พุทฺธ) สํ.ส. 15/56.
อ่านต่อโลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก ฯลฯ
โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ (และความประมาท) เรากล่าวความอยากว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลก ทุกข์เป็นภัยใหญ่ในโลกนั้น

โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ ฯลฯ

อวิชฺชาย นิวุโต โลโก เววิจฺฉา (ปมาทา) นปฺปกาสติ ชปฺปาภิเลปนํ พฺรูมิ ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ. “โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ (และความประมาท) เรากล่าวความอยากว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลก ทุกข์เป็นภัยใหญ่ในโลกนั้น.” (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/530, ขุ.จู. 30/9.
อ่านต่อโลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ ฯลฯ
กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล

กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดังก้อนเหล็ก ฯลฯ

อนิจฺจา อทฺธุวา กามา พหุทุกฺขา มหาวิสา อโยคุโฬว สนฺตตฺโต อฆมูลา ทุกฺขปฺผลา. “กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล.” (สุเมธาเถรี) ขุ.เถรี. 26/503.
อ่านต่อกามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดังก้อนเหล็ก ฯลฯ
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น

โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ฯลฯ

โลโภ โทโส จ โมโห จ ปุริสํ ปาปเจตสํ หึสนฺติ อตฺตสมฺภูตา ตจสารํว สมฺผลํ. “โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น.” (พุทฺธ) ขุ.อิติ. 25/264., ขุ.มหา. 29/18.
อ่านต่อโลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ฯลฯ
บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้วย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม

บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้วย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ฯลฯ

เยน สลฺเลน โอติณฺโณ ทิสา สพฺพา วิธาวติ ตเมว สลฺลํ อพฺพุยฺห น ธาวติ น สีทติ. “บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้วย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม.” (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/518., ขุ.มหา. 29/501.
อ่านต่อบุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้วย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ฯลฯ
ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภะเป็นลำต้น

ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภะเป็นลำต้น

ยา กาจิมา ทุคฺคติโย อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ อวิชฺชามูลกา สพฺพา อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา. “ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภะเป็นลำต้น.” (พุทฺธ) ขุ.อิติ. 25/256.
อ่านต่อทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภะเป็นลำต้น
เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรม 2 อย่าง เมื่อนั้น กิเลสเครื่องตรึงทั้งปวงของพราหมณ์ผู้รู้นั้น ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้

เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรม 2 อย่าง ฯลฯ

ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ ปารคู โหติ พฺราหฺมโณ อถสฺส สพฺเพ สํโยคา อตฺถํ คจฺฉนฺติ ชานโต. “เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรม 2 อย่าง เมื่อนั้น กิเลสเครื่องตรึงทั้งปวงของพราหมณ์ผู้รู้นั้น ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.” (พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/67.
อ่านต่อเมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรม 2 อย่าง ฯลฯ
คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ

คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน ฯลฯ

ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา. “คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ.” (พุทฺธ) ขุ.ธ. 25/49.
อ่านต่อคนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน ฯลฯ
คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ

ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น ฯลฯ

นิทฺทํ น พหุลีกเรยฺย ชาคริยํ ภเชยฺย อาตาปี ตนฺทึ มายํ หสฺสํ ขิฑฺฑํ เมถุนํ วิปฺปชเห สวิภูสํ. “ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา ความร่าเริง การเล่น และเมถุน พร้อมเครื่องประดับเสีย.” (พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/515., ขุ.มหา. 29/457, 460.
อ่านต่อผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น ฯลฯ
พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน ฯลฯ

โกธสฺส วิสมูลสฺส มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ วธํ อริยา ปสํสนฺติ ตญฺหิ เฉตฺวา น โสจติ. “ดูก่อนพราหมณ์ พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.” (พุทฺธ) สํ.ส. 15/236.
อ่านต่อพระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน ฯลฯ
คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่งอกงามในธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว

คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น ฯลฯ

กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี อุนฺนฬา จาสมาหิตา น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต. “คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่งอกงามในธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.” (พุทฺธ) องฺ.จตุกฺก. 21/34.
อ่านต่อคนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น ฯลฯ
กามทั้งหลาย เป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ เป็นที่คนโง่หมกมุ่น เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาลนาน

กามทั้งหลาย เป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ เป็นที่คนโง่หมกมุ่น ฯลฯ

กามา กฏุกา อาสีวิสูปมา เยสุ มุจฺฉิตา พาลา เต ทีฆรตฺตํ นิรเย สมปฺปิตา หญฺญนฺเต ทุกฺขิตา. “กามทั้งหลาย เป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ เป็นที่คนโง่หมกมุ่น เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาลนาน.” (สุเมธาเถรี) ขุ.เถรี. 26/499.
อ่านต่อกามทั้งหลาย เป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ เป็นที่คนโง่หมกมุ่น ฯลฯ
อวิชฺชนิวุตา โปสา “คนทั้งหลาย ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้”

อวิชฺชนิวุตา โปสา “คนทั้งหลาย ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้”

อวิชฺชนิวุตา โปสา. "คนทั้งหลาย ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้" (วิ.จุล. ๗/๔๐๐, องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๙๓)
อ่านต่ออวิชฺชนิวุตา โปสา “คนทั้งหลาย ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้”