
โย เว อวิทฺวา อุปธึ กโรติ
ปุนปฺปุนํ ทุกฺขมุเปติ มนฺโท
ตสฺมา ปชานํ อุปธึ น กยิรา
ทุกฺขสฺส ชาติปฺปภวานุปสฺสี.
[คำอ่าน]
โย, เว, อะ-วิด-ทะ-วา, อุ-ปะ-ทิง, กะ-โร-ติ
ปุ-นับ-ปุ-นัง, ทุก-ขะ-มุ-เป-ติ, มัน-โท
ตัด-สะ-หมา, ปะ-ชา-นัง, อุ-ปะ-ทิง, นะ, กะ-ยิ-รา
ทุก-ขัด-สะ, ชา-ติบ-ปะ-พะ-วา-นุ-ปัด-สี
[คำแปล]
“ผู้ใดไม่รู้ ย่อมก่ออุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ เพราะฉะนั้น ผู้รู้เห็นแดนเกิดแห่งทุกข์ จึงไม่ควรก่ออุปธิ.”
(พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/534, ขุ.จู. 30/80,81.
อุปธิ คือสภาวะที่กลั้วกิเลส สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร ซึ่งเป็นสิ่งที่คอยกำกับชีวิตสัตว์โลกทั้งหลายให้ประสบกับความทุกข์นานาประการ เริ่มตั้งแต่การเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ตลอดจนความโศกเศร้าพิไรรำพัน ความผิดหวัง เป็นต้น
ผู้ไม่รู้ คือผู้ที่ถูกโมหะครอบงำ ไม่รู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง ไม่รู้ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และหนทางสู่ความดับทุกข์ ย่อมประกอบกรรมที่พอกพูนอุปธิอยู่เนือง ๆ โดยเข้าใจว่ากรรมที่ตนทำนั้นจะนำความสุขมาให้ โดยหารู้ไม่ว่า นั่นเป็นการก่อทุกข์ ก่อภพก่อชาติเพิ่มขึ้นร่ำไป
เมื่อประกอบกรรมเหล่านั้นมากเข้า ก็เป็นการเพิ่มความทุกข์ให้ตนมากขึ้นในภพนี้ และนอกจากนั้นยังเป็นกรรมที่มีผลสืบไปถึงภพหน้าอีกด้วย
บุคคลผู้ปรารถนาความสุขที่ยั่งยืนคือพระนิพพาน พึงละอุปธิดังกล่าวแล้วเสีย พยายามบำเพ็ญตนตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อเข้าถึงความสุขที่ปราศจากกิเลสคือพระนิพพาน.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา