
นิทฺทํ ตนฺทึ สเห ถีนํ………..ปมาเทน น สํวเส
อติมาเน น ติฏฺเฐยฺย…..นิพฺพานมนโส นโร.
[คำอ่าน]
นิด-ทัง, ตัน-ทิง, สะ-เห, ถี-นัง….ปะ-มา-เท-นะ, นะ, สัง-วะ-เส
อะ-ติ-มา-เน, นะ, ติด-ไถ-ยะ…..นิบ-พา-นะ-มะ-นะ-โส, นะ-โร
[คำแปล]
“คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความทะนงตัว.”
(พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/518.
คำว่า “นิพพาน” หมายถึง ความดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง เป็นเป้าหมายสูงสุดที่พึงปรารถนาในพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์สรงสรรเสริญ
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีอย่างยิ่งยวดก็เพื่อพระนิพพาน เหล่าสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เพื่อพระนิพพาน
ผู้ที่นึกถึงพระนิพพาน คือผู้ที่ปฏิบัติตนเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน ต้องการดับกิเลสตัณหาทำลายกองทุกข์ทั้งปวง พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้ และไม่ให้ตั้งอยู่ในความประมาทและความทะนงตัว
การที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้เข้าถึงพระนิพพานได้นั้น จำเป็นต้องใช้ความเพียรอย่างมาก จะมัวยินดีในความหลับและความเกียจคร้านไม่ได้ ต้องนอนน้อยทำความเพียรมาก ฝืนอำนาจของกิเลส ตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงจะได้ชื่อว่าดำเนินไปสู่ทางแห่งพระนิพพาน
อีกอย่างหนึ่งคือต้องไม่ท้อแท้ เพราะเวลาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง กิเลสมารจะแสดงพลัง ทำให้ผู้ปฏิบัติต้องท้อแท้ ไม่อยากปฏิบัติต่อไป สุดท้ายก็เลิกล้มความตั้งใจ พ่ายแพ้ต่ออำนาจของกิเลส ไม่สามารถเข้าถึงพระนิพพานได้
ความประมาทก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม เพราะคนส่วนใหญ่มัวแต่ประมาทอยู่ เช่น คิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นจะปฏิบัติเมื่อไหร่ก็ได้ รอแก่ตัวก่อนค่อยปฏิบัติและเข้าถึงพระนิพพานทีเดียวเลย ตอนนี้ยังหนุ่มยังสาวอยู่ ทำงานหาเงิน เที่ยวเล่นให้สนุกไปก่อน อย่างนี้เรียกว่าประมาท เพราะเราไม่รู้ว่าเราจะตายเมื่อไหร่ แก่ตัวมาจะมีเรี่ยวแรงพอที่จะปฏิบัติธรรมได้หรือไม่ เป็นต้น
ความทะนงตัวก็เป็นมารร้ายตัวหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม เพราะความทะนงตัวจะทำให้เราเป็นคนหัวดื้อ ไม่เชื่อฟังใคร ไม่ฟังคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ คิดว่าตนเองดีกว่าคนอื่น เก่งกว่าคนอื่น รู้มากกว่าคนอื่น เป็นต้น สุดท้ายก็ไม่สามารถปฏิบัติให้สำเร็จเป้าหมายคือพระนิพพานได้
ดังนั้น หากมุ่งหวังที่จะปฏิบัติขัดเกลาตนเพื่อความพ้นทุกข์ถึงสุขอันไพบูลย์คือพระนิพพานแล้ว ต้องครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน และความท้อแท้เสียให้ได้ และต้องกำจัดความประมาทและความทะนงตัวเสียให้หมดสิ้น แล้วเร่งปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างจริงจัง จึงจะสามารถเข้าถึงพระนิพพานได้.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา