
มจฺจุนาพฺภาหโต โลโก……………ชราย ปริวาริโต
ตณฺหาสลฺเลน โอติณฺโณ….อิจฺฉาธูปายิโต สทา.
[คำอ่าน]
มัด-จุ-นาบ-พา-หะ-โต, โล-โก……..ชะ-รา-ยะ, ปะ-ริ-วา-ริ-โต
ตัน-หา-สัน-เล-นะ, โอ-ติน-โน….อิด-ฉา-ทู-ปา-ยิ-โต, สะ-ทา
[คำแปล]
“สัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว ถูกชราล้อมไว้ ถูกลูกศรคือตัณหาเสียบแล้ว ถูกอิจฉาคุกรุ่นแล้วทุกเมื่อ.”
(พุทฺธ) สํ.ส. 15/55.
สัตว์โลกทั้งหลายทั้งที่เป็นมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน เมื่อถือกำเนิดเกิดขึ้นมาแล้ว ล้วนตกอยู่ในสภาวะเดียวกัน คือ มีความตายเป็นเบื้องหน้า ถูกความแก่ชราครอบงำ นอกจากนั้นยังถูกตัณหาและอิจฉาติดตามเผาผลาญอยู่ตลอด
สัตว์โลกทั้งปวงเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ไม่มีใครเลยที่จะไม่ตาย สัตว์ทุกตัวมนุษย์ทุกคน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้าทั้งสิ้น ถ้าจะพูดว่า สัตว์โลกทั้งหลายเกิดมาเพื่อตาย ก็คงไม่ผิดอะไร เพราะความจริงเป็นเช่นนั้น
สัตว์โลกทั้งหลาย เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมแก่ชราลงตามลำดับ นั่นเป็นธรรมชาติความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงจากภาวะที่เป็นเด็กไปสู่ภาวะหนุ่มสาว เราจะไม่เรียกว่าแก่ แต่นั่นก็เป็นไปด้วยอำนาจของชรา คือเป็นการเปลี่ยนแปลงด้วยอำนาจของชรา เป็นการแก่ขึ้นตามลำดับก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะที่แก่เต็มที่ แต่ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ยังไม่ทรุดโทรมทำให้เราเข้าใจว่า นั่นไม่ใช่ความแก่
ตัณหาคือความทะยานอยาก อันได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา เปรียบเสมือนลูกศรอันแหลมคมที่คอยทิ่มแทงใจสรรพสัตว์ให้เดือดร้อนดิ้นรนอยู่ตลอดเวลา เดือดร้อนด้วยการแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการ เดือดร้อนด้วยการดิ้นรนให้หลุดพ้นจากภาวะที่ตนไม่ปรารถนา ล้วนเป็นอำนาจของตัณหาทั้งสิ้น
นอกจากนี้ สัตว์โลกยังถูกอิจฉาคือความต้องการครอบงำทำให้ต้องดิ้นรนเสาะแสวงหาไม่รู้จบสิ้น สาเหตุที่สัตว์โลกทั้งหลายยังต้องดิ้นรนไขว่คว้าสิ่งทั้งหลายมาบำรุงบำเรอตนอยู่ทุกวันนี้ ก็คืออิจฉา (ความต้องการ) นี่เอง
อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถหลีกหนีให้พ้นจากสิ่งเหล่านี้ได้ ตราบใดที่ยังเวียนว่ายตายเกิด สัตว์โลกก็ยังต้องแก่และต้องตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
วิธีเดียวที่จะหลีกหนีความแก่และความตายได้ นั่นก็คือ ต้องไม่เกิดอีก และวิธีที่จะทำให้ไม่ต้องเกิดอีกก็คือ การทำลายตัณหาอันเป็นเชื้อที่ทำให้เกิด และวิธีที่จะทำลายตัณหาเสียได้สิ้นซาก ก็มีวิธีเดียวคือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถบรรลุมรรคผลเข้าถึงพระนิพพานได้เท่านั้น.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา