
ปุราณํ นาภินนฺเทยฺย…….นเว ขนฺติมกุพฺพเย
หิยฺยมาเน น โสเจยฺย….อากาสํ น สิโต สิยา.
[คำอ่าน]
ปุ-รา-นัง, นา-พิ-นัน-ไท-ยะ……นะ-เว, ขัน-ติ-มะ-กุบ-พะ-เย
หิย-ยะ-มา-เน, นะ, โส-ไจ-ยะ…อา-กา-สัง, นะ, สิ-โต, สิ-ยา
[คำแปล]
“ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา.”
(พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/518.
สิ่งทั้งปวงในโลกใบนี้ ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ล้วนมีอันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ในการดำรงชีวิต มนุษย์ทั้งหลายย่อมต้องแสวงหาสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิต แสวงหาข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมทั้งเงินทองและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีต้องใช้ในการดำเนินชีวิต
พระพุทธเจ้าสอนว่า ไม่พึงเพลิดเพลินในของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา หมายความว่า ไม่ให้ยินดียินร้ายในสิ่งของหรือทรัพย์สินเงินทองทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นของเก่าที่มีอยู่แล้ว หรือของใหม่ที่ได้มา
เพราะสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด ย่อมบ่ายหน้าสู่ความเสื่อมสิ้นไปในที่สุด นั่นเป็นธรรมดาของสิ่งทั้งปวง ไม่มีสิ่งใดหนีพ้นกฎพระไตรลักษณ์ไปได้
สิ่งที่จะทำให้มนุษย์ลุ่มหลงเพลิดเพลินในสิ่งเหล่านั้น ก็คือกามตัณหา ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนทั้งหลายลุ่มหลงเพลิดเพลินในสิ่งอันน่าใคร่น่าพอใจทั้งหลาย เมื่อได้มาก็ดีใจ เมื่อเสียไปก็ทุกข์ใจ เศร้าโศกเสียใจ นั่นก็เป็นเพราะกามตัณหานั่นเอง
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เหล่าสาวกไม่หลงเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวง ทั้งเก่าและใหม่ และพยายามละตัณหาเสียให้ได้ จะได้ไม่ยินดีพอใจในสิ่งเหล่านั้น เมื่อละตัณหาเสียได้แล้ว ความทุกข์ ความเศร้าโศกทั้งหลายก็จะไม่มี.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา