อวิชฺชาย นิวุโต โลโก….เววิจฺฉา (ปมาทา) นปฺปกาสติ
ชปฺปาภิเลปนํ พฺรูมิ…………………..…ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ.
[คำอ่าน]
อะ-วิด-ชา-ยะ, นิ-วุ-โต, โล-โก….เว-วิด-ฉา, (ปะ-มา-ทา), นับ-ปะ-กา-สะ-ติ
ชับ-ปา-พิ-เล-ปะ-นัง, พรู-มิ…………………….….ทุก-ขะ-มัด-สะ, มะ-หับ-พะ-ยัง
[คำแปล]
“โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ (และความประมาท) เรากล่าวความอยากว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลก ทุกข์เป็นภัยใหญ่ในโลกนั้น.”
(พุทฺธ) ขุ.สุ. 25/530, ขุ.จู. 30/9.
อวิชชา แปลว่า ความไม่รู้ หมายถึง ความไม่รู้ในอริยสัจ 4 คือ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ และไม่รู้หนทางที่จะเข้าถึงความดับทุกข์
โลก หมายถึง สัตว์โลกทั้งหลาย อันหมายรวมทั้งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน สัตว์โลกหรือชาวโลกทั้งหลายถูกอวิชชาคือความไม่รู้นั้นปิดบัง ทำให้ไม่รู้ธรรมดาของสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ทำให้ลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่นสารทั้งหลาย
อวิชชาทำให้สัตว์โลกไม่รู้ว่าโลกนี้เต็มไปด้วยทุกข์ ไม่มีสิ่งใดน่าหลงใหลพอใจ ไม่รู้ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ไม่รู้ว่าความดับไปแห่งทุกข์ดังกล่าวนั้นจะเป็นสุขมากแค่ไหน และไม่รู้ว่าต้องทำวิธีไหนหรือดำเนินตามหนทางใดจึงจะสามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ เป็นเหตุให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในมหรรณพภพสงสารนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่จบสิ้น
ความอยาก หมายถึง ตัณหา 3 ประการ คือ กามตัณหา ความอยากในกาม ภวตัณหา ความอยากในภพ คือ อยากมีอยากเป็น และ วิภวตัณหา ความอยากในวิภพ คือ อยากไม่เป็นหรืออยากหลุดพ้นจากสภาวะบางอย่างที่ไม่ชอบใจ
ความอยากนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก คือฉาบสรรพสัตว์ให้ติดอยู่กับสิ่งหลอกลวงทั้งหลายในโลก ทำให้มีความทะยานอยากในกามคุณ อยากมีอยากเป็น โดยไม่รู้ว่าสิ่งที่อยากเหล่านั้นตกอยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์ คือเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน
เมื่อสัตว์โลกทั้งหลายถูกตัณหาฉาบทาอยู่อย่างนี้ ทำให้ลุ่มหลงมัวเมา ไม่แสวงหาหนทางที่จะหลุดพ้นไปจากทุกข์ในโลก จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่บ่อย ๆ ประสบกับทุกข์ใหญ่ในวัฏสงสารอยู่ร่ำไป.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา