ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ “ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง”

ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.

[คำอ่าน : ตัน-หัก-ขะ-โย, สับ-พะ-ทุก-ขัง, ชิ-นา-ติ]

“ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง”

(ขุ.ธ. 25/63)

ตัณหา คือความทะยานอยาก มี 3 อย่าง คือ

  1. กามตัณหา ความอยากในอารมณ์ที่น่าใคร่น่าพอใจ
  2. ภวตัณหา ความอยากเป็นโน่นอยากเป็นนี่
  3. วิภวตัณหา ความอยากไม่เป็นโน่นไม่เป็นนี่

ตัณหาทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว เป็นสาเหตุหลักแห่งความทุกข์ เพราะเมื่ออยากแล้วไม่ได้สมประสงค์ เพียงแค่นี้ก็เป็นทุกข์ขึ้นมาแล้ว สำหรับคนที่มองไม่เห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง

จะเห็นได้ว่า การที่คนเราจะมีทุกข์นั้น มันง่ายเหลือเกิน มันขึ้นอยู่กับความอยากที่คอยครอบงำจิตนี่แหละเป็นตัวการสำคัญให้เกิดความทุกข์

เพราะฉะนั้น ท่านจึงสอนให้กำจัดความอยากคือตัณหาที่ว่านี้ ถ้าเรากำจัดความอยากเสียได้ ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น มันก็ไม่ทุกข์

ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง คือถ้าไม่อยากก็ไม่ทุกข์นั่นเอง