
โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ.
[คำอ่าน : โล-โพ, ทำ-มา-นัง, ปะ-ริ-ปัน-โถ]
“ความโลภ เป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย”
(สํ.ส. ๑๕/๕๙)
คำว่า “โลภะ” คือความโลภ นั้น หมายถึง ความอยากได้ ในที่นี้ หมายถึงความอยากได้ของ ๆ ผู้อื่นมาครอบครอง หรืออยากได้ในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม แล้วแสวงหามาด้วยวิธีที่ผิดศีลธรรม ผิดกฏหมายบ้านเมือง
คนที่มีความโลภประจำใจ ย่อมจะสามารถทำความชั่วทุกอย่างได้อย่างง่ายดาย เพียงเพื่อสนองความต้องการของตนเอง ยอมทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนปรารถนา ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับคนอื่น หรือแม้แต่ความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นกับตนเองในภายหลัง
ความโลภนี้ เป็นตัวปิดกั้นการบรรลุธรรมขั้นสูง คือตราบใดที่ยังมีความโลภประจำใจอยู่ คือยังถูกความโลภครอบงำอยู่ เขาย่อมไม่สามารถปฏิบัติธรรมให้บรรลุคุณธรรมขั้นสูง ๆ ขึ้นไปได้
ดังนั้น เราต้องใช้ความเพียรพยายาม ที่จะกำจัดโลภะคือความโลภนี้ออกไปจากจิตจากใจเสียให้ได้
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา