
น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา.
[คำอ่าน : นะ, สัน-ติ, กา-มา, มะ-นุ-เช-สุ, นิด-จา]
“กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์”
(สํ.ส. ๑๕/๓๑)
กาม ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่เป็นเหตุให้ใคร่ให้พอใจ อันได้แก่กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่น่าปรารถนาน่าพอใจ
กามคุณดังว่ามานั้น มันไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน มีการผันแปรอยู่เสมอ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเหมือนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกนี้
การที่เราจะไปหลงใหลอยู่ในสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอนนั้น ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ฉลาด ขาดปัญญาอย่างยิ่ง เพราะการไปหลงยึดติดอยู่ในสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เพราะถูกอนิจจตาบีบคั้น และเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้นั้น ไม่ใช่วิถีของบัณฑิตเลย
ผู้มีปัญญาย่อมไม่หลงติดในกามคุณทั้งหลายที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอนนั้น เพราะพิจารณาเห็นด้วยปัญญาแล้วว่า เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ หาแก่นสารมิได้ จึงเร่งปฏิบัติขัดเกลาตน เพื่อตัดความยินดีพอใจในกามทั้งหลาย ยกระดับจิตให้พ้นจากอำนาจของกามเหล่านั้น อันจะเป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์อย่างถาวร
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา