
กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี…อุนฺนฬา จาสมาหิตา
น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ……สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต.
[คำอ่าน]
กุ-หา, ถัด-ทา, ละ-ปา, สิง-คี…….อุน-นะ-ลา, จา-สะ-มา-หิ-ตา
นะ, เต, ทำ-เม, วิ-รู-หัน-ติ…………สำ-มา-สำ-พุด-ทะ-เท-สิ-เต
[คำแปล]
“คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่งอกงามในธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.”
(พุทฺธ) องฺ.จตุกฺก. 21/34.
พุทธศาสนา สอนให้คนเป็นคนซื่อตรงจริงใจ ไม่หลอกลวง อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เย่อหยิ่งจองหอง พูดจาเป็นประโยชน์มีสาระ ไม่เพ้อเจ้อเหลวไหล สงบเสงี่ยมเจียมตัว ไม่ขี้โอ่ อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดดี และมีจิตใจมั่นคงไม่เหยาะแหยะ
ผู้ที่เรียกตัวเองว่าเป็นพุทธสาวก ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ต้องดำรงตนอยู่ในคุณธรรมดังกล่าว หาไม่แล้ว ย่อมไม่สามารถเจริญงอกงามในธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนได้
คนหลอกลวง ย่อมไม่เป็นที่เชื่อใจของคนทั้งหลาย ผู้คนรังเกียจไม่อยากคบหา อีกทั้งการโกหกหลอกลวงเป็นการกระทำที่ผิดศีลข้อที่ ๔ คนที่ทำผิดศีล ไม่เคารพในศีล ย่อมไม่สามารถเจริญงอกงามในธรรมได้
คนเย่อหยิ่งถือตัว ย่อมไม่ยอมเชื่อฟังคำสอนหรือคำแนะนำตักเตือนของผู้อื่น ถือความคิดทิฏฐิของตนเองเป็นสำคัญ คิดแต่ว่าตัวเองถูกคนอื่นผิด คนเช่นนี้ ย่อมไม่สามารถเจริญงอกงามในธรรมได้
คนเพ้อเจ้อ เป็นคนพูดจาเหลวไหลไร้สาระ ไม่เป็นประโยชน์ และการกล่าววาจาเพ้อเจ้อ ก็เป็นเหตุให้กลายเป็นวจีทุจริตข้ออื่นๆ ตามมา ซึ่งล้วนแต่เป็นความประพฤติที่ไม่ดีทั้งสิ้น คนเช่นนี้ย่อมไม่สามารถเจริญงอกงามในธรรมได้
คนขี้โอ่ คือคนที่ชอบคุยโวโอ้อวด ขี้โม้ไปเรื่อย หาสาระความจริงมิได้ คนที่ชอบคุยโม้ มักจะทำให้ก่อวจีทุจริตได้ง่าย เช่น การโกหก พูดเหลวไหลไร้สาระ เป็นต้น คนเช่นนี้ ไม่สามารถเจริญงอกงามในธรรมได้
คนอวดดี คือ คนทะนงตนว่าเป็นคนดีคนเก่ง คิดว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น เก่งกว่าคนอื่น เลิศกว่าคนอื่น เหนือกว่าคนอื่นในทุก ๆ ด้าน คนเช่นนี้ ไม่สามารถเจริญในธรรมได้
คนไม่ตั้งมั่น คือ คนเหลาะแหละ เหยาะแหยะ ไม่จริงจัง เอาแน่เอานอนไม่ได้ คนเช่นนี้ ก็ไม่สามารถเจริญงอกงามในธรรมได้
เราท่านทั้งหลาย ผู้เรียกตนเองว่าเป็นพุทธศาสนิกชน พึงกำจัดข้อเสียต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วนั้นเสียให้หมดจากตน ไม่เช่นนั้นแล้ว จะไม่สามารถเจริญงอกงามในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา