
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา.
[คำอ่าน : อัด-ตา-นัง, ทะ-มะ-ยัน-ติ, สุบ-พะ-ตา]
“ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน.”
(ขุ.ธ. 25/34)
ผู้ประพฤติดี หมายถึง ผู้ที่หมั่นสร้างสมอบรมคุณงามความดี ก่อประโยชน์ให้สังคม ประเทศชาติบ้านเมือง มีความประพฤติเรียบร้อย เป็นต้น อันนี้เป็นมุมในทางโลก
ในทางธรรม ผู้ประพฤติดี หมายถึง ผู้ที่ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม สำรวมกาย วาจา ใจ ให้ห่างจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย
บุคคลที่จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติดี ไม่ว่าจะเป็นความดีระดับไหนก็ตาม ย่อมต้องผ่านการฝึกฝนมาแล้วทั้งนั้น เป็นคนดีของประเทศชาติบ้านเมือง ก็ต้องผ่านการฝึกฝน เป็นคนดีมีศีลธรรม ก็ต้องผ่านการฝึกฝนทั้งหมด
เพราะธรรมดาจิตของมนุษย์นี้มันพยศ มีปกติไหลลงสู่ที่ต่ำเหมือนน้ำ การที่จะประคับประคองจิตไม่ให้ไหลลงต่ำได้นั้น จำเป็นต้องฝึกอย่างหนัก การที่จะไม่ให้จิตใจหลงใหลในสิ่งชั่วช้าเลวทรามนั้น ก็จำเป็นต้องฝึกอย่างหนักเช่นกัน
จึงเป็นที่มาของคำว่า “ผู้ประพฤติดีย่อมฝึกตน” นั่นเอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา