
ธาตุ 6 ประการ
ธาตุ คือ สิ่งที่เป็นต้นเดิมของสิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถแยกย่อยได้อีก เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในพระสูตรท่านจำแนกไว้ 6 ประการ ส่วนในพระอภิธรรมท่านจำแนกไว้ 18 ประการ ในที่นี้จะกล่าวถึงธาตุ 6 ประการ คือ
1. ปฐวีธาตุ
ปฐวีธาตุ ธาตุดิน คือ ธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง หรือธาตุที่ทำให้ตั้งอยู่เป็นรูปร่าง เช่น ดิน หิน ต้นไม้ ภูเขา เสาไฟ เป็นต้น ส่วนธาตุดินที่มีอยู่ในร่างกาย ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น ล้วนจัดเป็นธาตุดินทั้งสิ้น
2. อาโปธาตุ
อาโปธาตุ ธาตุน้ำ คือ ธาตุที่มีลักษณะเหลว เอิบอาบ เหนียว หรือมีลักษณะทำให้ประสานติดอยู่ เช่น น้ำฝน น้ำค้าง น้ำมัน น้ำผึ้ง เป็นต้น ธาตุน้ำที่มีอยู่ในร่างกายเรา ได้แก่ เลือด เหงื่อ น้ำลาย น้ำตา เสลด เป็นต้น ล้วนจัดเป็นธาตุน้ำทั้งสิ้น
3. เตโชธาตุ
เตโชธาตุ ธาตุไฟ คือ ธาตุที่มีลักษณะร้อน ให้ความอบอุ่น เผาผลาญ เช่น ไฟตามธรรมชาติ ไฟฟ้า ไฟที่เกิดจากฟืน ไฟที่เกิดจากดวงอาทิตย์ เป็นต้น ส่วนไฟที่อยู่ในร่างกาย ได้แก่ ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น ไฟที่เผาผลาญร่างกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน ไฟที่ช่วยย่อยอาหาร เป็นต้น ล้วนจัดเป็นธาตุไฟทั้งสิ้น
4. วาโยธาตุ
วาโยธาตุ ธาตุลม คือ ธาตุที่มีลัษณะพัดไปมา ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว เช่น ลมตามธรรมชาติ ลมที่เกิดจากพัดลม ลมพายุ ลมฝน เป็นต้น ลมที่อยู่ในร่างกาย ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมหายใจเข้า-ออก เป็นต้น ล้วนจัดเป็นธาตุลมทั้งสิ้น
5. อากาสธาตุ
อากาสธาตุ ธาตุที่อยู่ตามช่องว่าง คือ สภาวะที่ว่าง โปร่ง เป็นช่อง ธาตุที่นิ่งอยู่ตามช่องว่างต่าง ๆ ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น อากาศตามธรรมชาติ อากาศในห้องว่าง อากาศในสิ่งที่ว่างต่าง ๆ เป็นต้น อากาศที่มีอยู่ในร่างกาย ได้แก่ อากาศที่อยู่ในช่องหู (ช่องหู) อากาศที่อยู่ในช่องปาก (ช่องปาก) อากาศที่อยู่ในลำไส้ เป็นต้น ล้วนจัดเป็นธาตุอากาศทั้งสิ้น
6. วิญญาณธาตุ
วิญญาณธาตุ ธาตุรู้ คือ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ เป็นธาตุที่รับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้แก่ วิญญาณธาตุ 6 ประการ คือ
- จักขุวิญญาณธาตุ
- โสตวิญญาณธาตุ
- ฆานวิญญาณธาตุ
- ชิวหาวิญญาณธาตุ
- กายวิญญาณธาตุ
- มโนวิญญาณธาตุ
วิญญาณธาตุนี้ มีเฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น ซึ่งจะเข้าครอบครองร่างกายตั้งแต่แรกปฏิสนธิ
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ