
อริยวงศ์ 4 ประการ
อริยวงศ์ แปลว่า วงศ์ของพระอริยะ หมายถึง ปฏิปทาหรือข้อปฏิบัติที่พระอริยะทั้งหลายยึดถือปฏิบัติสืบกันมาแต่โบราณไม่ขาดสาย หรืออาจเรียกว่า อริยประเพณี มี 4 ประการ คือ
1. จีวรสันโดษ
จีวรสันโดษ ความสันโดษด้วยจีวร คือ ความยินดีด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่แสวงหาโดยทางที่เป็นอเนสนา คือไม่แสวงหาในทางที่ผิด เมื่อไม่ได้มาก็ไม่เร่าร้อนทุรนทุราย เมื่อได้มาก็ใช้อย่างมีสติ ไม่หลงยึดติด และกล่าวสรรเสริญคุณของความสันโดษด้วยจีวร
2. ปิณฑปาตสันโดษ
ปิณฑปาตสันโดษ ความสันโดษด้วยบิณฑบาต คือ ความยินดีด้วยอาหารบิณฑบาตตามมีตามได้ ไม่แสวงหาโดยทางที่เป็นอเนสนา คือไม่แสวงหาในทางที่ผิด เมื่อไม่ได้มาก็ไม่เร่าร้อนทุรนทุราย เมื่อได้มาก็บริโภคอย่างมีสติ ไม่หลงยึดติด และกล่าวสรรเสริญคุณของความสันโดษด้วยบิณฑบาต
3. เสนาสนสันโดษ
เสนาสนสันโดษ ความสันโดษด้วยเสนาสนะ คือ ความยินดีด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ไม่แสวงหาโดยทางที่เป็นอเนสนา คือไม่แสวงหาในทางที่ผิด เมื่อไม่ได้มาก็ไม่เร่าร้อนทุรนทุราย เมื่อได้มาก็ใช้สอยอย่างมีสติ ไม่หลงยึดติด และกล่าวสรรเสริญคุณของความสันโดษด้วยเสนาสนะ
4. ปหานภาวนารามตา
ปหานภาวนารามตา ความยินดีในการละอกุศลและการเจริญกุศล คือ ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในการปฏิบัติบำเพ็ญสมณธรรมเพื่อกำจัดอกุศลให้หมดไป และพอกพูนกุศลให้เจริญงอกงามขึ้นในตนเองยิ่ง ๆ ขึ้นไป
พระอริยเจ้าทั้งหลาย แม้จะบำเพ็ญธรรมทั้ง 4 ประการนั้นอย่างเคร่งครัดแล้ว แต่ท่านจะไม่ยกเอาการที่บำเพ็ญธรรมทั้ง 4 ประการนั้นขึ้นเป็นเหตุยกตนข่มผู้อื่น คือเมื่อประพฤติธรรมทั้ง 4 ประการนั้นแล้ว ก็ไม่ถือตนว่าดีกว่าผู้อื่น คือบำเพ็ญเพื่อรักษาอริยวงศ์ คงไว้ซึ่งอริยประเพณี มิใช่เพื่อแข่งดีกับใคร
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ