
อัปปมัญญา 4 ประการ
อัปปมัญญา แปลว่า ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต หมายเอาธรรมคือพรหมวิหารทั้ง 4 ประการ แต่แผ่ไปในสรรพสัตว์โดยไม่มีประมาณ ไม่มีจำกัดขอบเขต ไม่จำกัดตัวบุคคล มี 4 ประการ เช่นเดียวกับพรหมวิหารธรรม คือ
1. เมตตา
เมตตา คือ ความรัก ความปรารถนาดี ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายทุกตัวตน ไม่จำกัดว่าเป็นใคร ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง คือความปรารถนาให้สัตว์โลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ ไม่อยากให้สรรพสัตว์เบียดเบียนกัน ไม่อยากให้สรรพสัตว์จองเวรกัน ปรารถนาให้สรรพสัตว์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
2. กรุณา
กรุณา คือ ความสงสาร ความปรารถนาให้สรรพสัตว์ทุกตัวตนพ้นจากความทุกข์ โดยไม่จำกัดว่าเป็นใคร ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง ปรารถนาให้มนุษย์ทุกคนและสัตว์โลกทุกตัวตนพ้นจากทุกข์ทั้งหลายที่ประสบอยู่ หากแม้มีความสามารถพอที่จะช่วยบุคคลหรือสัตว์เหล่านั้นให้พ้นจากทุกข์นั้น ๆ ได้ ก็ยินดีช่วยอย่างเต็มกำลัง
3. มุทิตา
มุทิตา คือ ความพลอยยินดี คือความพลอยยินดีไปกับสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีความสุข ประสบความสำเร็จ ไม่เลือกว่ารู้จักหรือไม่รู้จัก ไม่เลือกว่าเป็นบุคคลที่รักหรืออมิตรศัตรู ผู้ใดได้ดีมีสุขก็พลอยยินดีไปกับเขาทั้งหมด ไม่จำกัดบุคคล ไม่มีขอบเขต ไม่ปล่อยให้ความริษยาครอบงำจิตใจ ไม่ริษยาใครทั้งสิ้น
4. อุเบกขา
อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง หมายเอาความวางใจเป็นกลางในสรรพสัตว์ทั้งหลาย คือถึงแม้จะมีเมตตาคือปรารถนาให้เขามีความสุข มีกรุณาคืออยากให้เขาพ้นจากความทุกข์ แต่หากตนเองไม่มีกำลังพอที่จะช่วยเหลือได้ หรือช่วยสุดความสามารถแล้วแต่ก็ทำให้เขามีสุขไม่ได้ หรือทำให้เขาพ้นจากความทุกข์ไม่ได้ ก็รู้จักวางใจให้เป็นกลาง ๆ โดยมาพิจารณาถึงภาวะที่สรรพสัตว์เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน ผู้ใดทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประคับประคองจิตใจของตนไม่ให้เป็นทุกข์จนเกินเหตุ
อัปปมัญญากับพรหมวิหารนั้น ต่างกันตรงที่ พรหมวิหาร แผ่ไปในบุคคลผู้เป็นที่รัก เช่น บิดา มารดา บุตร ธิดา ญาติ มิตร เป็นต้น ส่วนอัปปมัญญานั้น แผ่ไปในบุคคลและสรรพสัตว์ทุกตัวตนอย่างไม่จำกัด อีกอย่างหนึ่งคือ พรหมวิหาร ใช้สำหรับบำเพ็ญในการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนอัปปมัญญานั้น เป็นธรรมที่เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ตัวอย่างเช่น เราแผ่เมตตาหลังจากนั่งสมาธิเสร็จ เมตตานี้จัดเป็นเมตตาในอัปปมัญญา
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ