
นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา.
[คำอ่าน : นิด-ชัด-ติ-พะ-ลา, ปัน-ทิ-ตา]
“บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง”
(องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๒๒๗)
บัณฑิต คือผู้มีปัญญารอบรู้ ธรรมชาติของบัณฑิต ย่อมไม่เพ่งโทษของผู้อื่น ไม่คอยจับผิดผู้อื่น คือไม่คอยสอดส่ายหาความผิดพลาดของผู้อื่นเพื่อที่จะนำมาตำหนิติเตียน
การคอยเพ่งโทษของผู้อื่นนั้น ไม่ใช่วิสัยของบัณฑิต เพราะบัณฑิตย่อมรู้ดีว่า การเพ่งโทษของคนอื่นนั้น ไม่ก่อประโยชน์ใด ๆ ให้ตนเลย มีแต่จะทำให้จิตใจกระเพื่อม คือเกิดความยินร้ายไม่พอใจขึ้นมาเท่านั้น
แต่วิสัยของบัณฑิตนั้น ย่อมเพ่งแต่โทษของตนเอง คือมองหาข้อผิดพลาดของตนเอง เพื่อที่จะนำข้อผิดพลาดนั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เป็นการพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีมีคุณค่ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
เราทั้งหลายในฐานะพุทธศาสนิกชน พึงดำเนินตามวิถีแห่งบัณฑิต คือไม่คอยเพ่งโทษของผู้อื่น หันมาเพ่งโทษของตนเองแทน แล้วคอยปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองให้ดีขึ้น จะได้เป็นคนที่มีคุณภาพ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และความประพฤติ
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา