
นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา.
[คำอ่าน : นัด-ถิ, ขัน-ทะ-สะ-มา, ทุก-ขา]
“ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ไม่มี”
(ขุ.ธ. ๒๕/๔๒)
ขันธ์ หมายถึง ขันธ์ ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง ๕ ประการนี้ รวมกันกลายเป็นตัวเราขึ้นมา เป็นกองแห่งขันธ์
ท่านกล่าวว่า ทุกข์ที่เสมอด้วยขันธ์ไม่มี ก็เพราะว่า ในการใช้ชีวิตประจำวัน เราต้องคอยบริหารขันธ์นี้อยู่ตลอดเวลา หิวเราก็ต้องกิน ไม่กินมันก็เป็นทุกข์ ต้องคอยอาบน้ำชำระร่างกาย ไม่อาบมันก็สกปรก
ต้องคอยแปรงฟันทุกวัน ไม่แปรงมันก็สกปรกแล้วก่อเกิดโรคขึ้นมา ป่วยไข้ก็ต้องรักษา ไม่รักษามันก็ทรมาน ปวดแขนปวดขาก็ต้องคอยบริหาร เรียกว่า เราต้องคอยปรนนิบัติขันธ์อยู่ตลอดเวลา
ที่เราเป็นทุกข์อยู่ทุกวันนี้ก็เพราะมีขันธ์ ๕ และที่เรามีขันธ์ ๕ อยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะเราเกิด และที่เราเกิดมานี้ ก็เพราะเรายังไม่สิ้นกิเลสตัณหาอันเป็นเชื้อให้ต้องเกิด เพราะฉะนั้น หนทางเดียวที่จะดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงก็คือ ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนสามารถบรรลุพระนิพพานเท่านั้นเอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา