
สมาธิ 2 ประการ
สมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต สภาวะที่จิตสงบนิ่งจับอยู่ที่อารมณ์อันเดียว ไม่ฟุ้งซ่านหรือหวั่นไหวไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ภายนอก แบ่งประเภทตามระดับความตั้งมั่นแห่งจิตออกเป็น 2 ประเภทบ้าง 3 ประเภทบ้าง ในที่นี้จะกล่าวถึงสมาธิ 2 ประเภท คือ
1. อุปจารสมาธิ
อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียด ๆ สมาธิจวนจะแน่วแน่ คือ สมาธิที่ยังไม่ดิ่งถึงที่สุด เป็นสมาธิที่เฉียด ๆ เข้าไปเกือบจะถึงฌานแต่ก็ยังไม่ถึง สามารถระงับกิเลสได้ชั่วคราวเพราะจิตยังไม่นิ่ง ยังไม่แนบสนิทกับอารมณ์ เหมือนสัญญาณโทรศัพท์ในสถานที่สัญญาณค่อนข้างดี แต่ไม่เต็มที่ คือมีสัญญาณหายบ้าง ไม่เสถียร
2. อัปปนาสมาธิ
อัปปนาสมาธิ สมาธิอันแน่วแน่ สมาธิแนบสนิท หมายถึง สมาธิในฌาน เป็นสมาธิที่แน่วแน่ดิ่งลงไปถึงที่สุด จนสามารถตัดอารมณ์ภายนอกได้ ถึงอยู่ในที่ที่มีเสียงดังก็ไม่ได้ยิน จิตจะมีอารมณ์เดียว หรือที่เรียกว่า เอกัคคตาจิต สามารถข่มกิเลสได้ตราบเท่าที่ยังอยู่ในสมาธิ เปรียบเหมือนการใช้โทรศัพท์ในสถานที่มีสัญญาณเสถียร สัญญาณจะคงที่ไม่ขาดหาย
สมาธิทั้ง 2 ประการนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการเจริญสมถกรรมฐาน เป็นวิธีทำจิตใจให้สงบมั่นคงและสามารถยกขึ้นเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไปได้
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ