
อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
การบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนานั้น มีเป้าหมายเพื่อการปฏิบัติขัดเกลาตน เพื่อกำจัดกิเลส และเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน เปรียบเหมือนการว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรจากฝั่งหนึ่งเพื่อไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ย่อมต้องพบกับภัยต่าง ๆ ที่จะมีมาขัดขวาง และต้องเอาชนะให้ได้
พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบภัยที่ภิกษุสามเณรจะต้องพบเจอและต้องเอาชนะให้ได้ เหมือนภัยที่จะต้องพบเจอในมหาสมุทรและต้องฝ่าฟันไปให้ได้ 4 ประการ คือ
1. อูมิภัย
อูมิภัย ภัยคือคลื่น หมายถึง คำกล่าวตักเตือนสั่งสอนจากพระอุปัชฌาย์และสหธรรมิก
ผู้ที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนานั้น จะต้องประพฤติตนอยู่ภายใต้กฏระเบียบคือพระธรรมวินัย ต้องรับคำแนะนำสั่งสอนจากอุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์ และต้องเชื่อฟัง บางคนบวชเข้ามาแล้วอดทนต่อคำตักเตือนสั่งสอนไม่ได้ สุดท้ายก็ลาสิกขาไป เหมือนคนที่ว่ายน้ำข้ามทะเล โดนคลื่นซัดกระหน่ำจนอ่อนแรง สุดท้ายจบชีวิตลงกลางทะเล ไม่สามารถไปถึงฝั่งได้
2. กุมภีลภัย
กุมภีลภัย ภัยคือจระเข้ หมายถึง ความเห็นแก่ปากแก่ท้อง คือเห็นแก่กินนั่นเอง
ผู้ที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ต้องประพฤติตนอยู่ในกฏระเบียบ และกฏระเบียบเกี่ยวกับการบริโภคอาหารก็มีอยู่มาก จะบริโภคตามอำเภอใจไม่ได้ ต้องบริโภคอาหารตามที่บิณฑบาตมาได้ มีข้อห้ามว่าสิ่งใดบริโภคได้ สิ่งใดบริโภคไม่ได้ เวลาไหนบริโภคได้ เวลาไหนบริโภคไม่ได้ เวลาบริโภคควรปฏิบัติตัวอย่างไร เป็นต้น บางคนบวชเข้ามาแล้วทนต่อกฎระเบียบเรื่องการบริโภคอาหารไม่ได้ เพราะความเห็นแก่ปากแก่ท้อง สุดท้ายต้องลาสิกขาออกไป เหมือนคนที่ว่ายน้ำข้ามทะเล ถูกจระเข้งับกินเสียตั้งแต่ยังไม่ถึงฝั่ง
3. อาวฏภัย
อาวฏภัย ภัยคือน้ำวน หมายถึง ความยินดีในกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ที่น่ายินดี
ผู้ที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ต้องลด ละ เลิก อาการอย่างชาวบ้าน ต้องปฏิบัติเพื่อขลัดเกลากิเลส ทำลายความโลภ ความโกรธ ความหลง ความอยากมีอยากเป็นอย่างที่ชาวโลกเขาต้องการกัน ต้องละความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ที่น่าใคร่น่าพอใจ บางคนบวชเข้ามาแล้วไม่สามารถขัดเกลาจิตใจตนได้ เห็นชาวบ้านเขามีสิ่งที่น่าใคร่น่าพอใจมาบำรุงบำเรอตน ก็อยากมีบ้าง สุดท้ายก็ลาสิกขาไปเพื่อแสวงหาสิ่งที่ชาวโลกเขายินดีกัน เปรียบเหมือนบุคคลผู้ฝ่ายน้ำข้ามทะเล ว่ายไปเจอน้ำวนแล้วไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องถูกน้ำวนดูดจมหายไปในทะเล
4. สุสุกาภัย
สุสุกาภัย ภัยคือปลาร้าย หมายถึง กามราคะ หรือความกำหนัด การไปหลงรักผู้หญิง
ผู้ที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา เป็นการบวชออกจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน สละการมีครอบครัวอย่างฆราวาส แต่บางคนบวชเข้ามาแล้วยังไม่ได้รับการฝึกฝนขัดเกลากิเลสมากนัก เห็นผู้หญิงแต่งตัวยั่วยวนแล้วเกิดความกำหนัดกลัดกลุ้มขึ้นมา หรือไปหลงรักผู้หญิงคนไหนเข้า หรือคุยกับผู้หญิงแล้วเกิดความรักใคร่ชอบพอกันขึ้นมา สุดท้ายก็ลาสิกขาออกไปแต่งงานมีครอบครัว เปรียบเหมือนผู้ว่ายน้ำข้ามมหาสมุทร แต่ถูกปลาร้ายกัดกินเสียก่อนที่จะถึงฝั่ง
ภัยทั้ง 4 ประการนี้ เป็นภัยที่ผู้บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้วจะต้องประสบพบเจอ ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งจริง ๆ เท่านั้นจึงจะสามารถเอาชนะภัยเหล่านี้ได้
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ