
ปธาน 4 ประการ
ปธาน แปลว่า ความเพียร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัมมัปปธาน แปลว่า ความเพียรชอบ หรือความเพียรที่ถูกที่ควร หมายถึง ความเพียรที่ควรตั้งไว้ในใจ เป็นธรรมสำหรับกำจัดความเกียจคร้านและปลุกใจให้ฝักใฝ่ในการสร้างคุณงามความดี มี 4 ประการ คือ
1. สังวรปธาน
สังวรปธาน เพียรระวัง หรือ เพียรปิดกั้น คือ ความเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน ได้แก่ พยายามระมัดระวังไม่ให้ความชั่ว คือ โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นใจจิตใจ ด้วยการสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดความยินดียินร้ายในขณะที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส และใจรับรู้ธรรมารมณ์ อันจะเป็นสาเหตุให้ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลได้
2. ปหานปธาน
ปหานปธาน เพียรละ หรือ เพียรกำจัด คือ เพียรละหรือกำจัดบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่ ความพยายามในการกำจัดความชั่ว คือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่เกิดขึ้นแล้วและมีอยู่ในจิตใจให้หมดไป ด้วยการบำเพ็ญทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เพื่อถ่ายถอนความชั่วทั้งหลายเสียให้ได้
3. ภาวนาปธาน
ภาวนาปธาน เพียรเจริญ หรือ เพียรทำให้เกิดขึ้น คือ ความเพียรในการสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน ได้แก่ ความพยายามในการสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้นในสันดานให้มาก ๆ ด้วยการบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา คนที่ยังไม่มีก็พยายามทำให้มี คนที่มีอยู่แล้วทำอยู่แล้ว ก็พยายามทำให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
4. อนุรักขนาปธาน
อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา คือ ความเพียรในการรักษาคุณงามความดีที่มีอยู่แล้วไม่ให้เสื่อมไป ได้แก่ การพยายามประคับประคองรักษาคุณงามความดีของตนที่มีอยู่ไม่ให้เสื่อมถอย รักษาสภาพจิตใจของตัวเองที่ดีอยู่แล้วไม่ให้อ่อนแอจนตกไปเป็นทาสของกิเลส รักษาจิตใจให้เข้มแข็ง ไม่ให้ถูกชักจูงไปทำความชั่วได้ง่าย ๆ
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ใดปฏิบัติตามปธาน 4 ด้วยความพากเพียรไม่ลดละ ย่อมเข้าถึงความสิ้นทุกข์ได้ ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ควรมีความพอใจในการบำเพ็ญความเพียรทั้ง 4 ประการนี้อย่างไม่ลดละไม่ท้อถอย ย่อมมีความสิ้นทุกข์เป็นรางวัลรออยู่ข้างหน้าอย่างแน่นอน
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ