
อุปาทายรูป 24 ประการ
อุปาทายรูป คือ รูปอาศัย หมายถึง รูปที่เป็นไปโดยอาศัยมหาภูตรูป ได้แก่ คุณและอาการแห่งมหาภูตรูปนั่นเอง
อุปาทายรูป มี 24 อย่าง แบ่งเป็น
ปสาทรูป รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์มี 5 อย่าง คือ
- จักขุปสาท ประสาทสัมผัสคือตา
- โสตปสาท ประสาทสัมผัสคือหู
- ฆานปสาท ประสาทสัมผัสคือจมูก
- ชิวหาปสาท ประสาทสัมผัสคือลิ้น
- กายปสาท ประสาทสัมผัสคือกาย
โคจรรูป หรือ วิสัยรูป รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์ มี 4 อย่าง คือ
- รูป
- เสียง
- กลิ่น
- รส
ภาวรูป คือ รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ มี 2 อย่าง คือ
- อิตถีภาวรูป รูปที่บ่งบอกความเป็นหญิง
- ปุริสภาวรูป รูปที่บ่งบอกความเป็นชาย
หทัยรูป รูปคือหทัย มีอย่างเดียว คือ
- หทัยวัตถุ ได้แก่ หัวใจ
ชีวิตรูป รูปที่เป็นชีวิต มีอย่างเดียว คือ
- ชีวิตินทรีย์ หมายเอา อายุ ความเป็นไปของร่างกาย การดำรงอยู่สืบเนื่องกัน หรือความหล่อเลี้ยงชีวิต
อาหารรูป รูปคืออาหาร มีอย่างเดียว คือ
- กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว อาหารที่กินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย
ปริจเฉทรูป รูปที่กำหนดเทศะ รูปที่คอยทำหน้าที่กั้นไม่ให้รูปอื่น ๆ ภายในปะปนกัน มีอย่างเดียว คือ
- อากาสธาตุ สภาวะคือช่องว่าง
วิญญัติรูป รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย, รูปที่คอยกำกับการเคลื่อนไหว มี 2 อย่าง คือ
- กายวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยกาย
- วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา
วิการรูป รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้, รูปที่เป็นไปด้วยอาการต่าง ๆ มี 3 อย่าง คือ
- ลหุตา ความเบา ความรวดเร็วคล่องแคล่ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก ของรูป
- มุทุตา ความอ่อนสลวย ความอ่อน ความไม่แข็งกระด้าง เช่น การก้ม การเงย การเอี้ยวตัว ความอ่อนไหวของร่างกาย
- กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน คือ ใช้การได้ เช่น ใช้เดิน ยืน นั่ง นอน กิน เป็นต้น
ลักขณรูป รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด, รูปคือความเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะหรืออาการ มี 4 อย่าง คือ
- อุปจยะ ความก่อตัวหรือเติบขึ้น ความเจริญเติบโต
- สันตติ ความสืบต่อ ความเกิดดับสืบเนื่องต่อกัน
- ชรตา ความทรุดโทรม เช่น ผมหงอก หนังเหี่ยว เป็นต้น
- อนิจจตา ความแปรปรวนแตกสลาย
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ