
อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย.
[คำอ่าน : อัด-ตะ-ทัด-ถัง, ปะ-รัด-เถ-นะ, พะ-หุ-นา-ปิ, นะ, หา-ปะ-เย]
“ไม่ควรพร่าประโยชน์ตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก”
(ขุ.ธ. 25/37)
คำว่า “ประโยชน์” หมายถึง สิ่งที่พึงได้พึงถึง มี ๓ อย่าง คือ
- ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในโลกนี้
- สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ในโลกหน้า
- ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน
คำว่า “ประโยชน์” ในพุทธศาสนสุภาษิตนี้ หมายถึง ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน ได้แก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อเป้าหมายอันสูงสุดคือพระนิพพาน
การที่ท่านสอนว่า ไม่ควรพร่าประโยชน์ตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก ไม่ได้หมายความว่าจะสอนให้เราเป็นคนเห็นแก่ตัว
พุทธศาสนาสอนให้เรามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สมบูรณ์ คือประโยชน์ของตนก็ไม่ให้เสีย ประโยชน์ส่วนรวมก็ไม่ให้เสียเช่นกัน
แต่มียกเว้นอยู่อย่างหนึ่งคือ ถ้าหากจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อความพ้นทุกข์นั้น ท่านถือว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมของตน ถึงแม้ว่าจะต้องละทิ้งประโยชน์ส่วนรวมก่อนก็ไม่เป็นไร หากมีใจมุ่งตรงต่อพระนิพพานและตั้งใจปฏิบัติกรรมฐานอย่างแท้จริง เพราะนี่คือประโยชน์ที่เหนือกว่าประโยชน์ทั้งปวง
ให้บำเพ็ญประโยชน์อย่างยิ่งนี้ให้สำเร็จลุล่วงเสียก่อนค่อยมาบำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวมก็ยังไม่สาย
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา