
โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
โสตาปัตติยังคะ แปลว่า องค์คุณเครื่องบรรลุโสดา องค์ประกอบของการบรรลุโสดา องค์คุณที่ทำให้ถึงกระแส หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน หรือ คุณสัมบัติของพระโสดาบัน มี 4 ประการ คือ
1. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระพุทธเจ้า
ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระพุทธเจ้า ผู้ที่จะสามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันได้ จะต้องมีคุณสมบัติคือความเป็นผู้มีความศรัทธาเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า คือเชื่อมั่นในพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าใครจะนินทาใส่ร้ายป้ายสีพระพุทธเจ้าให้เสียหายอย่างไร ก็ไม่เชื่อความนั้น ยังคงมีศรัทธาเลื่อมใสอย่างไม่เปลี่ยนแปลง
2. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระธรรม
ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระธรรม ผู้ที่จะสามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันได้ จะต้องมีคุณสมบัติคือความเป็นผู้มีความศรัทธาเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ว่าเป็นธรรมที่นำให้พ้นจากทุกข์ได้จริง มีประโยชน์จริง สามารถพิสูจน์ได้ เป็นธรรมที่ผู้รู้ย่อมรู้ได้เฉพาะตน ไม่ว่าใครจะนินทาปรามาสพระธรรมอย่างไร ก็ไม่เชื่อความนั้น ยังคงมีศรัทธาเลื่อมใสอย่างไม่เปลี่ยนแปลง
3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระสงฆ์
ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระสงฆ์ ผู้ที่จะสามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันได้ จะต้องมีคุณสมบัติคือความเป็นผู้มีความศรัทธาเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึงพระอริยสงฆ์ คือเชื่อมั่นในพระสงฆ์ ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติควร ปฏิบัติชอบ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นเนื้อนาบุญของโลก เป็นต้น ไม่ว่าใครจะนินทาว่าร้ายพระสงฆ์ให้เสียหายอย่างไร ก็ไม่เชื่อความนั้น ยังคงมีศรัทธาเลื่อมใสอย่างไม่เปลี่ยนแปลง
4. ประกอบด้วยอริยกันตศีล
ประกอบด้วยอริยกันตศีล ผู้ที่จะสามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันได้ จะต้องประกอบด้วยอริยกันตศีล คือศีลอันเป็นที่ชื่นชมพอใจของพระอริยะ บริสุทธิ์ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิแปดเปื้อนหรือครอบงำ และเป็นไปเพื่อสมาธิ
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ