
โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
โสตาปัตติยังคะ แปลว่า องค์คุณเครื่องบรรลุโสดา องค์ประกอบของการบรรลุโสดา องค์คุณที่ทำให้ถึงกระแส หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน มี 4 ประการ คือ
1. สัปปุริสสังเสวะ
สัปปุริสสังเสวะ การคบหาสัตบุรุษ การเสวนากับสัตบุรุษ คบหาท่านผู้ทรงธรรมทรงปัญญาเป็นกัลยาณมิตร คือ การคบค้าสมาคมกับบัณฑิตชนคนดี การคบกับผู้ที่ทรงธรรมทรงปัญญา คือมีคุณธรรมศีลธรรมอันดี มีปัญญา สามารถแนะนำเราในทิศทางที่ดีได้ ถ่ายทอดความรู้ของท่านให้เราได้ การคบหากับสัตบุรุษผู้มีปัญญา จะทำให้เราได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้จากท่าน
2. สัทธัมมัสสวนะ
สัทธัมมัสสวนะ การสดับสัทธรรม การฟังธรรมของสัตบุรุษ การใส่ใจศึกษาเล่าเรียนพระสัทธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง ได้ทราบหลักธรรมที่แท้จริง เพื่อนำมาเป็นหลักในการดำรงชีวิตประจำวัน
3. โยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย การพิจารณาตริตรองโดยแยบคาย คือ รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกวิธี นำความรู้ที่ได้จากการฟังสัทธรรมหรือการศึกษาเล่าเรียน มาใคร่ครวญพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกวิธี
4. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ
ธัมมานุธัมมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ การปฏิบัติธรรมให้ถูกหลัก ให้ธรรมย่อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน ปฏิบัติธรรมนั้น ๆ ให้สอดคล้องพอดีตามขอบเขตความหมายและวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับธรรมข้ออื่น ๆ กลมกลืนกันในหลักใหญ่ที่เป็นระบบทั้งหมด ดำเนินชีวิตถูกต้องตามธรรม
โสตาปัตติยังคะ 4 นี้ ตรงกับหลักที่เรียกว่า ปัญญาวุฒิธรรม 4 หรือ วุฒิธรรม 4
ธรรม 4 ประการนี้ มิใช่เพียงเป็นโสตาปัตติยังคะ ที่จะให้บรรลุโสดาปัตติผล คือเป็นพระโสดาบันเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรม 4 ประการนี้ เมื่อเจริญ ปฏิบัติ ทำให้มาก ย่อมเป็นไปเพื่อการบรรลุอริยผลได้ทุกขั้นจนถึงอรหัตตผล
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ