
วุฑฒิธรรม 4 ประการ
วุฒิ หรือ วุฑฒิธรรม คือ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ คุณธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม มี 4 ประการ คือ
- สัปปุริสสังเสวะ การคบหาสัตบุรุษ
- สัทธัมมัสสวนะ การสดับสัทธรรม
- โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย
- ธัมมานุธัมมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
1. สัปปุริสสังเสวะ
สัปปุริสสังเสวะ การคบหาสัตบุรุษ การเสวนากับสัตบุรุษ คือ การคบค้าสมาคมกับบัณฑิตชนคนดี การคบกับผู้ที่ทรงธรรมทรงปัญญา คือมีคุณธรรมศีลธรรมอันดี มีปัญญา สามารถแนะนำเราในทิศทางที่ดีได้
ผู้ที่คบค้าสมาคมกับบัณฑิตชนคนดี จะได้รับอิทธิพลทั้งในด้านความประพฤติและด้านความคิด จะสามารถซึมซับเอากิริยาวาจาและความคิดอ่านที่ดีจากบัณฑิตชนเหล่านั้นได้ และสามารถขอคำแนะนำจากบัณฑิตชนเหล่านั้นได้ เป็นเหตุให้สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นบัณฑิตชนคนดีได้ในที่สุด ดังคำที่ว่า “คบคนเช่นใดย่อมเป็นคนเช่นนั้น”
2. สัทธัมมัสสวนะ
สัทธัมมัสสวนะ การสดับสัทธรรม การฟังธรรมของสัตบุรุษ คือ การสดับรับฟังธรรมหรือคำแนะนำสั่งสอนจากสัตบุรุษที่คบหา รวมไปถึงการเข้าหาผู้รู้เพื่อสอบถามปัญหาข้อสงสัย ปรึกษาข้ออรรถข้อธรรม เพื่อความเจริญแห่งปัญญาของตน
การฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า การฟังธรรมจากพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า หรือแม้แต่การฟังคำแนะนำพร่ำสอนของบัณฑิตชนคนดีทั้งหลาย ย่อมจะทำให้ผู้ฟังเกิดปัญญา ได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ เป็นพหูสูตคือได้ยินได้ฟังมามาก เมื่อถึงคราวประสบปัญหาชีวิต อาจสามารถใช้หลักธรรมหรือความรู้ที่เคยได้ยินได้ฟังมานั้นมาแก้ปัญหาได้
3. โยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย การพิจารณาตริตรองโดยแยบคาย คือ รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกวิธี นำความรู้ที่ได้จากการฟังสัทธรรมหรือคำแนะนำพร่ำสอนจากสัตบุรุษนั้น มาใคร่ครวญพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้รู้ชัดว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ เป็นจริงหรือเป็นเท็จ
การคิดพิจารณาโดยแยบคายอย่างมีเหตุมีผล แล้วค่อยลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะทำให้สิ่งที่ทำนั้นถูกต้องไม่ผิดพลาด หรือผิดพลาดน้อยที่สุด เพราะเป็นการกระทำที่ผ่านการพิจารณามาอย่างดีแล้ว เป็นผลดีทั้งต่อการใช้ชีวิตทั่วไปและการประกอบธุรกิจทั้งหลาย
3. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ
ธัมมานุธัมมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ การปฏิบัติธรรมให้ถูกหลัก ดำเนินชีวิตถูกต้องตามธรรม เป็นขั้นของการนำคำแนะนำพร่ำสอนของสัตบุรุษที่ได้รับฟังมาคิดพิจารณา ใคร่ครวญโดยแยบคายแล้ว จึงนำมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชีวิต
การปฏิบัติธรรมให้ถูกหลักหรือถูกต้องตามธรรมนั้น จะช่วยให้การปฏิบัติธรรมเกิดผลสำฤทธิ์ไม่ผิดพลาด สามารถบรรลุถึงเป้าหมายของการปฏิบัติธรรมได้ หรือบรรลุเป้าหมายของการนำหลักธรรมแต่ละข้อมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ
วุฑฒิธรรมทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ เริ่มด้วยการคบหาสัตบุรุษ รับฟังคำชี้แนะจากสัตบุรุษ คิดพิจารณาใคร่ครวญโดยแยบคาย แล้วนำมาปฏิบัติให้ถูกต้องสมควรตามธรรม ผลคือความเจริญงอกงามของชีวิต
ผู้ที่ศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ถึงความหมายและหลักปฏิบัติของวุฑฒิธรรมทั้ง 4 ข้อนี้ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ย่อมสามารถเข้าถึงความเจริญก้าวหน้าในชีวิตได้อย่างแน่นอน
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ