
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย.
[คำอ่าน : นาน-โย, อัน-ยัง. วิ-โส-ทะ-เย]
“ผู้อื่นทำให้ผู้อื่นหมดจดไม่ได้เลย”
(ขุ.ธ. ๒๕/๓๗, ขุ.มหา. ๒๙/๓๗, ขุ.จู, ๓๐/๑๑๖)
ความบริสุทธิ์ หมายถึง ความหมดจดผ่องใสแห่งจิต การที่จะทำให้จิตบริสุทธิ์ได้นั้น ต้องกำจัดกิเลสตัณหาออกจากจิต ต้องกำจัดอกุศลออกจากจิตเสียก่อน จึงจะบริสุทธิ์ได้
เพราะกิเลสตัณหามันครอบงำจิตของเราอยู่เนืองนิตย์ จิตจึงไม่บริสุทธิ์ อยู่ในภาวะที่เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส การที่จะทำให้จิตผ่องใสได้ ต้องกำจัดกิเลสให้หมดไป
การที่จะกำจัดกิเลสตัณหาให้หมดไปจากจิตใจได้นั้น เราต้องทำด้วยตัวของเราเอง เราต้องบำเพ็ญเอง คนอื่นไม่มีใครเลยที่จะสามารถชำระจิตของเราให้ใสสะอาดได้ และแม้แต่ตัวเราเองก็ไม่สามารถชำระจิตใจของคนอื่นให้ผ่องใสได้เช่นกัน
ต่างคนต้องชำระจิตใจของตนเองด้วยตัวเอง โดยอาศัยหลักธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องชำระจิต โดยการน้อมนำเอาหลักธรรมเหล่านั้นมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ก็จะทำให้จิตของเราบริสุทธิ์ขึ้นได้โดยลำดับ
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา