
อตฺตา หิ อตฺตโน คติ.
[คำอ่าน : อัด-ตา, หิ, อัด-ตะ-โน, คะ-ติ]
“ตนเทียว เป็นคติของตน.”
(ขุ.ธ. 25/66)
คำว่า “ตน” หมายถึง กายและใจของเรานี่แหละ ที่รวมกันแล้วเป็นอัตภาพร่างกายที่สามารถทำ พูด คิด ประกอบกิจต่าง ๆ ได้
คำว่า “คติ” แปลว่า ที่ไป หรือ ทางไป แยกเป็น 2 อย่าง คือ
1. สุคติ ทางไปที่ดี (มนุษย์โลก สวรรค์ 6 ชั้น พรหมโลก 16 ชั้น และพระนิพพาน) และ
2. ทุคติ ทางไปที่ไม่ดี (นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน)
ทางทั้ง 2 ทางนั้น เราจะไปสู่ทางไหน ก็ขึ้นอยู่กับการสร้างกรรม ถ้าเราสร้างกรรมดี อันเป็นเหตุแห่งสุคติ เราก็จะได้ไปสู่สุคติ
แต่ถ้าเราสร้างกรรมชั่วช้าลามก อันเป็นเหตุแห่งทุคติ เราก็จะได้ไปสู่ทุคติ
และการสร้างกรรมนั้น แน่นอนว่าเราเองเป็นผู้ทำ เราใช้อัตภาพร่างกายของเรานี่แหละสร้างกรรม ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว กรรมที่เราสร้างไว้ทั้งหมดจะส่งผลให้เราไปสู่สุคติหรือทุคติ แล้วแต่ว่าทำกรรมดีหรือชั่วไว้มากกว่ากัน
และด้วยเหตุที่เราเป็นคนสร้างกรรมด้วยตนเอง ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า “ตนเทียว เป็นคติของตน”
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา