
ทุกข์ 2 ประการ
ทุกข์ แปลตรงตัวว่า ความทุกข์ หรือ สภาพที่ทนได้ยาก ความไม่สบาย แบ่งเป็น 2 หมวด คือ หมวดความทุกข์ที่เป็นเหตุ และ หมวดความทุกข์ที่เป็นผล ในที่นี้จะกล่าวถึงหมวดความทุกข์ที่เป็นผล 2 ประการ คือ
1. กายิกทุกข์
กายิกทุกข์ คือ ทุกข์ทางกาย หรือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นทางกาย เช่น ความที่ร่างกายทุพพลภาพ ทุกข์ที่เกิดจากการที่ร่างกายถูกโรคภัยเบียดเบียน ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ความเจ็บปวด เป็นต้น
2. เจตสิกทุกข์
เจตสิกทุกข์ คือ ทุกข์ทางใจ หรือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นทางจิตใจ เช่น ความเดือดร้อนใจ ความไม่สบายใจ ความกระวนกระวายใจ ความเสียใจ หรือภาวะที่จิตใจถูกกิเลสตัณหาครอบงำ เช่น ถูกความโกรธครอบงำ ถูกความโลภครอบงำ ถูกความหลงครอบงำ เป็นต้น ล้วนเป็นเจตสิกทุกข์ทั้งสิ้น
ทุกข์ทั้ง 2 ประการนี้ เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นกับสัตว์โลกทุกตัวตน ไม่มีใครเลยที่จะไม่ต้องประสบกับความทุกข์ทั้ง 2 ประการนี้ จะต่างกันก็แต่ปริมาณที่มากหรือน้อยต่างกันเท่านั้น
ความทุกข์ทางกายสามารถบำบัดได้ด้วยการบริหารดูแลร่างกายให้ดี เช่น ทานอาหารที่มีประโยชน์ เจ็บไข้ได้ป่วยก็ไปหาหมอให้ช่วยรักษา ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง เป็นต้น
แต่ทุกข์ทางใจนั้นสามารถบำบัดได้ด้วยการปฏิบัติธรรม คือศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจถ่องแท้แล้วนำมาปฏิบัติตาม ก็จะสามารถบรรเทาหรือลดความทุกข์ทางใจลงได้ หากปฏิบัติได้จนถึงที่สุดคือการบรรลุพระนิพพาน ก็จะสามารถทำลายกองทุกข์ทั้งปวงได้
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ