
สุข 2 ประการ
สุข แปลว่า ความสุข ความสบาย ความสำราญ แบ่งเป็น 2 หมวด คือ หมวดความสุขที่เป็นเหตุ และหมวดความสุขที่เป็นผล ในที่นี้จะกล่าวถึงหมวดความสุขที่เป็นเหตุหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดความสุข 2 ประการ คือ
1. สามิสสุข
สามิสสุข แปลว่า ความสุขที่อิงอามิส หมายถึง ความสุขที่เกิดจากอามิสคือกามคุณ 5 ได้แก่
ความสุขที่เกิดจากการได้เห็นรูปที่สวยงาม เป็นที่น่าพอใจชอบใจ เช่น ได้เห็นดาราหล่อ ๆ สวย ๆ ที่ตนเองชื่นชอบแล้วมีความสุข เป็นต้น
ความสุขที่เกิดจากการได้ฟังเสียงที่ไพเราะเสนาะหู เช่น ได้ฟังเพลงเพราะ ๆ แล้วมีความสุข เกิดความชอบใจพอใจขึ้นมา
ความสุขที่เกิดจากการได้กลิ่นที่น่าพอใจ เช่น ได้กลิ่นดอกไม้หอม ๆ แล้วพอใจ มีความสุข ได้กลิ่นน้ำหอมแล้วมีความสุข เป็นต้น
ความสุขที่เกิดจากการได้ลิ้มรสที่น่าพอใจ เช่น ได้กินอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปากแล้วพอใจ มีความสุข ได้กินผลไม้ที่ตนเองชื่นชอบในรสชาติแล้วมีความสุข เป็นต้น
ความสุขที่เกิดจากการได้รับสัมผัสที่น่าพอใจ เช่น ได้สวมผ้าผ่อนแพรพรรณที่ผลิตจากผ้าชั้นดี มีสัมผัสที่อ่อนนุ่ม แล้วมีความสุข เป็นต้น
ความสุขที่เกิดจากอามิสเหล่านี้ เป็นความสุขที่ไม่ยั่งยืน เป็นความสุขที่เจือปนไปด้วยทุกข์ เมื่อได้แล้วก็จะมีความสุข เมื่อไม่ได้หรือขาดไปความสุขก็หายไป กลายเป็นความทุกข์ขึ้นมาแทน
2. นิรามิสสุข
นิรามิสสุข คือ ความสุขที่ไม่อิงอามิส หมายถึง ความสุขที่เกิดขึ้นจากการที่จิตไม่ยึดติดในกามคุณทั้ง 5 ประการดังกล่าวข้างต้น คือจิตไม่ยึดติดในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส เป็นจิตที่ปราศจากกิเลส ไม่โหยหาความสุขที่อิงอามิสแล้ว ไม่เร่าร้อน ไม่ดิ้นรนด้วยอำนาจแห่งกิเลสตัณหาทั้งหลายทั้งปวง
นิรามิสสุข นี้ หมายถึง นิพพานสุข คือความสุขที่เกิดจากการบรรลุพระนิพพานนั่นเอง
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ